สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
"Conditions for using the UICAN MODEL concept in developing learner quality
According to the whiteschool project TO BE NUMBER ONE
students Basic education level, center for non-formal
education and Informal education in Ban Khok District Uttaradit Province"
วันทนา จะระ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 2)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรมและความต้องการในการจัดกิจกรรม ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากด้านกิจกรรมดี(Activity) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(x̄ = 3.91, S.D. =0.99) คือ กิจกรรมเสริมสร้างความรู้สึกรักเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ พรสวรรค์ กล้าแสดงออกมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความคิด สร้างสรรค์ และจินตนาการในแนวทางที่ถูกต้อง และการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ศึกษา เรียนรู้ ฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติด้านอาชีพที่ตนเองสนใจ เพื่อเป็นทางเลือก และวางแผนประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในอนาคต
Abstract
The results of this research were as follows: 1) to study the use of UICAN MODEL concept in developing the quality of learners under the TO BE NUMBER ONE white school project, basic education students, center for non-formal education and education. At Ban Khok District Uttaradit Province 2) To study the level of opinions on the activity pattern and the need for the TO BE NUMBER ONE white school project activities suitable for the students at the basic education level, the center for non-formal and informal education, Ban Khok DistrictUttar Province Overall, it was at a high level, Activity with the highest average (x̄ = 3.91, S.D. =0.99). Is an activity to promote feelings of love and self-esteem It is an activity to enhance talent, talent,assertiveness, skills, knowledge, ability, creativity and imagination in the correct way. And promoting learning to develop professional skills It is an activity that encourages students to study, learn, practice skills and practice in the profession of their interest. To be an alternative And plan for career and further education in the future.
Keywords : condition, use of the UICAN MODEL concept in developing learner quality According to the white school project TO BE NUMBER ONE
1. บทนำ
นโยบายรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้กำหนดให้เป็น วาระแห่งชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กำหนดให้เยาวชนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด และได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาและกลุ่มเสี่ยงเยาวชนนอกสถานศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์แห่งชาติ และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงมิให้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขยาเสพติดและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดและทำให้ปัญหายาเสพติดลดน้อยลงในทุกด้าน ซึ่งการพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โครงการ ทูบี นัมเบอร์วัน เป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด ยาเสพติด ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มใหญ่ขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนถึง 21 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังถือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติดสูง เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ แต่ยังขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีพอ รวมทั้งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ จึงทรงพระกรุณาธิคุณรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อเพื่อให้ง่ายต่อการรณรงค์ว่า โครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐและเอกชนกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรง ร่วมใจกันเป็นพลังแผ่นดินที่จะต่อสู้และอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้โดยเร็วโดยทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายหลัก คือวัยรุ่นและเยาวชน โดยกลวิธีสร้างกระแสการแสดงพลังอย่างถูกต้องโดยไม่ข้องแวะกับยาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชนในชุมชน จัดระบบบำบัดรักษารองรับภายใต้โครงการ ใครติดยายกมือขึ้น ทั้งนี้เพื่อคืนคนดีสู่สังคมและป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายสมาชิกและชมรม TO BE NUMBER ONE เพื่อร่วมกันรณรงค์และจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเสมือนการเติมสิ่งที่ดีให้กับชีวิต เพื่อเกิดค่านิยมของการ เป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งยาเสพติดดังพระราชดำรัสในวโรกาส การแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ TO BE NUMBER ONE เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 ณ ห้องประชุมกระทรวงสาธารณสุข ความว่า กิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE จะเป็นความสนใจจากการหาความสุขชั่วครั้งชั่วคราวจากยาเสพติดอยากให้โครงการนี้สำเร็จด้วยดี แต่จะทำคนเดียวไม่ได้ จึงความร่วมมือจากทุกคน
ผู้วิจัยในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก ได้ดำเนินงานการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์โดยได้จัดทำโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันแก้ไขปัญหายาเสพติด อาทิ โครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBE ONE เป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด โครงการเยี่ยมบ้านนักศึกษา ส่งเสริมการฝึกอาชีพให้สามารถดูแลตนเอง ครอบครัวได้ ตลอดจนมีรายได้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตเนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ข่าวสารข้อมูล และเทคโนโลยี มีการแข่งขันและความขัดแย้งมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติ ค่านิยมที่ถูกต้อง และมีทักษะหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นในการเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต อาทิเช่น ปัญหายาเสพติด การตั้งครรถ์ไม่พึงประสงค์ เพศสัมพันธ์ ทะเลาะวิวาท ครอบครอบแตกแยก ความรุนแรง ความเครียดเป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรมและความต้องการในการจัดกิจกรรมตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
วิธีการดำเนินการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก 2562 จำนวน 394 คน (ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก, 2562, ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 )
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษา ในในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก 2563 จำนวน 394 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิ ตามหน่วยการจัดการศึกษา
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่
2.1.1. เพศ
1) ชาย
2) หญิง
2.1.2 อายุ
1) วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี)
2) วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (35-60 ปี)
3) วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
2.1.3. สภาพการเป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE
1) เป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE
2) ไม่เป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE
2.1.4. ระดับการศึกษา
1) ประถมศึกษา
2) มัธยมศึกษาตอนต้น
3) มัธยมศึกษาตอนปลาย
2.1.5. อาชีพ
1) เกษตรกร
2) รับจ้าง
3) ค้าขาย
4) ไม่ประกอบอาชีพ
2.1.6. รายได้ต่อเดือน
1) น้อยกว่า 3,000 บาท
2) 3,000 -5,000 บาท
3) มากกว่า 5,000 บาท
2.1.7. หน่วยจัดการศึกษา
1) กศน.ตำบลบ้านโคก
2) กศน.ตำบลนาขุม
3) กศน.ตำบลม่วงเจ็ดต้น
4) กศน.ตำบลบ่อเบี้ย
2.1.8. สภาพการเป็นนักศึกษาแกนนำ
1) เป็นนักศึกษาแกนนำ
2) ไม่เป็นนักศึกษาแกนนำ
2.1.9. พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
1) เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2) ไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.2 ตัวแปรตาม (dependent variable) ได้แก่ระดับความคิดเห็นต่อสภาพ
กิจกรรม UICAN MODEL ด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 5 ด้าน คือ
2.2.1 ด้านเอกภาพความสามัคคี (Unity)
2.2.2 ด้านบูรณาการความร่วมมือ (Intergreted)
2.2.3 ด้านชุมชนมีส่วนร่วม (community)
2.2.4 ด้านกิจกรรมดี (Activity)
2.2.5 ด้านเป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด (Numberone)
แนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาคือ เพื่อศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 5 ด้าน 1)ด้านเอกภาพความสามัคคี (unity) 2)ด้านบูรณาการความร่วมมือ(Intergreted) 3)ด้านชุมชนมีส่วนร่วม (Community) 4)ด้านกิจกรรมดี (Activity) 5)ด้านเป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด (Numberone) แนวคิดตามคู่มือการดำเนินงาน โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560 (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,2560:7-14) และ คู่มือการดำเนินงาน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2559 (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ,2559 : 4-11)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเก็บ
ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ มีทั้งหมด 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 แบบสอบถามสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 1.เอกภาพความสามัคคี (unity) 2.บูรณาการความร่วมมือ(Intergreted) 3.ชุมชนมีส่วนร่วม (Community)4.กิจกรรมดี (Activity) 5.เป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด (Numberone) มีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Rating Scale) 5 ระดับ ของ Linkert (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2546 : 126)
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรม TO BE NUMBER ONEที่มีความเหมาะกับนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Chceklist) ลักษณะเป็นมาตราส่วน (Rating Scale) 5 ระดับ ของ Linkert (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2546 : 126)
ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-End Questionnaire) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะอื่นๆ จากนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ตอบแบบสอบถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทำโดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้วิจัยได้มอบหมายให้ครู กศน.ตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษา กศน. 4 ตำบล ในเขตอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 196 คน
2. เมื่อได้รับแบบสอบถามคืน ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม แล้วจึงดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ
นำแบบสอบถามทั้งหมด มาตรวจสอบหาความสมบูรณ์ความถูกต้องในการตอบของแบบสอบถามแล้วนำมาคัดเลือกฉบับที่สมบูรณ์และถูกต้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์แบบสอบถามตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คำถามที่สร้างขึ้นเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) โดยสอบถาม เพศ อายุ สภาพการเป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBERONE ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน หน่วยจัดการศึกษา สภาพการเป็นนักศึกษาแกนนำ และพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage)
2. วิเคราะห์แบบสอบถามตอนที่ 2 แบบสอบถามสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ UICAN MODEL 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเอกาภาพความสามัคคี (unity) ด้านบูรณาการความร่วมมือ (intergreted) ด้านชุมชนมีส่วนร่วม (community) ด้านกิจกรรมดี (activity) และด้านเป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด (numberone) ลักษณะเป็นมาตรส่วน (Rating Scale) 5 ระดับ นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง สถิติที่ใช้ในการวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เมื่อได้รับค่าเฉลี่ยแล้วนำมาแปลความหมายโดยเทียบกับเกณฑ์ (สิน พันธุ์พินิจ.2547 : 155)
3. วิเคราะห์แบบสอบถามตอนที่ 3 ความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรม TO BE NUMBER ONEที่มีความเหมาะกับนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 10 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจรายการ (Checklist) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และจัดหมวดหมู่เรียบลำดับจากมากไปหาน้อย
4. ประมวลความคิดเห็นต่อการศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ผลการวิจัย
จากการศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาผู้เรียนด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้
1. การศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้ แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปพัฒนาทักษะชีวิต มาก ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าการสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษามีความสำคัญต่อนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวังโดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาต้องดำเนินการ สอดคล้องกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ( 2559, หน้า 16-23) กล่าวว่า นักเรียน นักศึกษาเป็นคนเก่ง คนดี ดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด การแก้ไขปัญหาตามกระบวนการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น (กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข, 2660, หน้า 12-14) กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้านแล้ว วัยรุ่นยังมีธรรมชาติความต้องการ ความสนใจและพฤติกรรมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ความต้องการความรักในทุกรูปแบบในฐานะที่เป็นผู้ให้และผู้รับ ความต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความต้องการความเป็นอิสระ ความต้องการได้รับการยกย่อง ต้องการมีชื่อเสียง ความต้องการมีปรัชญาชีวิตหรือมีอุดมคติของตนเอง ความต้องการเดี่ยวกับเรื่องเพศ โดยมากมักเป็นวัยที่มีความรักแบบหลงใหลใฝ่ฝัน ความต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ส่วนมากเป็นความอยากลองและอยากเรียนรู้ในสิ่งแปลงใหม่ที่ตนเองไม่เคยกระทำมาก่อน ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง อย่างพึ่งพาตนเองได้ มีความฝันและมีจุดมุ่งหมายในอนาคต สนใจช่วยเหลือบุคคลอื่น สนใจกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นของใหม่และมีประโยชน์ ซึ่งจากพื้นฐานความเข้าใจ และการยึดวัยรุ่นและเยาวชนเป็นศูนย์กลางข้างต้นนำไปสู่หลักการดำเนินงานของโครงการ TO BE NUMBER ONE ดังนี้ 1) ส่งเสริมการแสดงความสามารถ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและช่วยสร้างเสริมความภาคภูมิใจ 2) ใช้สื่อ ดนตรี กีฬา ในการเข้าถึงเยาวชน และกระตุ้นให้เยาวชนเข้ามารวมกลุ่มกัน 3) สร้างความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญสำหรับเยาวชนในชุมชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด 4) เพื่อนช่วยเพื่อน 5) สร้างศูนย์รวมให้วัยรุ่นรวมกลุ่มกัน ทำกิจกรรมที่สนใจ สร้างสรรค์และเกิดสุข 6) สร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ที่มีศักยภาพ จะทำให้การดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัย วิชา สมิงไพร (2558 , บทคัดย่อ) ที่กล่าวไว้ว่าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาภาพรวม อยู่ในระดับมาก มาตรการป้องกันมีการดำเนินงานมากที่สุด ส่วนมาตรการค้นหา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหาร จัดการ และมาตรการรักษา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย คือ มาตรการรักษา มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา ส่วนมาตรการเฝ้าระวัง และมาตรการบริหารจัดการ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3)แนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา ควรดำเนินงานดังนี้ คือ ศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE สถานศึกษาจัดตั้งสารวัตรนักเรียนปราบปรามยาเสพติด จัดระบบคัดกรองให้มีประสิทธิภาพ ส่งผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดทันที สถานศึกษาควรจัดค่ายคุณธรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดสายตรวจของสถานศึกษาทำงานร่วมกับตำรวจ สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ครู ตำรวจ ในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดและส่งบุคลากรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1.1 ด้านความเอกภาพความสามัคคี (Unity) พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต อยู่ในระดับมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะนักศึกษาทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิด เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมาย ที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมต่างยอมรับว่า เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่ร่วมกันซึ่งสอดคล้องกับ อารยะ (ม.ป.ป. ย่อหน้าที่ 2) กล่าวว่า ความสามัคคี (Unity) ความพร้อมเพรียงกันร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน แก้ปัญหา ความสามัคคีเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมเกิดความอบอุ่นมีพลัง ตลอดจนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในชุมชน การรวมเป็นหนึ่งเดียว ความสมานฉันท์และการทำงานร่วมกัน ความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน ความสามัคคีคือการที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิด เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมาย ที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมต่างยอมรับว่า เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น หน่วยสังคมขนาดเล็ก ระดับครอบครัว ระดับองค์กร หรือขนาดใหญ่ระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก หากขาดความสามัคคี ย่อมขาดพลังในการทำสิ่ง ต่าง ๆ และยิ่งหากปัญหาความขัดแย้งมีมาก ย่อมสามารถลุกลามไปสู่ความรุนแรงได้ในที่สุด
1.2 ด้านบูรณาการความร่วมมือ (Intergreted) พบว่าระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรการทำงานร่วมกันไม่ได้วางแผนร่วมกัน กำหนดเป้าหมายสูงสุดในการทำงานเป็นทีมขาดการประสานที่ต่อเนื่อง ทำให้การสร้างทีมงานด้วยความสามารถหรือจุดเด่นแต่ละคน จึงทำได้ยากทำให้การสร้างผู้นำที่ดีและผู้ตามที่มีวินัยในการให้ความร่วมมือการทำงานต้องใช้เวลาในการบูรณาการความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น การทำงานเป็นทีมดีกว่าทำงานคนเดียวผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีประสิทธิผลสูงอย่างมาก พลังในการทำงานร่วมกันซึ่งสอดคล้องกับ ไพโรจน์ บาลัน (2551, หน้า 1-2) การทำงานเป็นทีมมักจะออกมาได้ดีกว่าทำงานคนเดียว ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีประสิทธิผลสูงเป็นอย่างมาก พลังในการทำงานร่วมกันซึ่งเกิดจากการรวมเอาทักษะที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ประสบการณ์ และแรงจูงใจของสมาชิกในทีม ทำให้ทีมสามารถที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และตลาดที่นับวันยิ่งมีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ทีมที่มีประสิทธิผลจะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้นกว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและความสามารถสูงแต่ค่างคนต่างทำงานและแน่นอนว่าหลายๆคนมีความสุข และมีแรงจูงใจที่ได้ทำงานเป็นทีมซึ่งนั่นเป็นผลทำให้พวกเขามีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Performance) ประโยชน์ของการบูรณาการความร่วมมือสอดคล้องกับ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559, หน้า 1) กล่าวว่า การบูรณาการใช้ในการดำเนินงานก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 1)เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 2)สามารถใช้ทรัพยากร 3)พนักงานทำงานได้ง่าย สะดวก มีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะปรับตัวอย่างต่อเนื่อง 4) ลดความสูญเปล่าของเวลา ความซ้ำซ้อน 5)ลดค่าใช้จ่ายในการติดตาม 6) สร้างภาพลักษณ์ที่ที่ดีแก่องค์กรในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ 7) เป็นการพัฒนามนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ 8)การบูรณาการเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความฉลาดหลักแหลมในการปรับตัวเอง 9)ช่วยขจัดความขัดแย้ง เนื่องจากการบูรณาการทำให้เกิดความเชื่อมโยงแนวคิด 10)รู้จุดเชื่อมโยงของงานและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้สามารถแก้ไขได้อย่างชัดเจนเบ็ดเสร็จ
1.3 ด้านชุมชนมีส่วนร่วม (Community) พบว่าระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชุมชนมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชาชนได้มีส่วนร่วมในการคิด ริเริ่ม ตัดสินใจ ร่วมวางแผนสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง มีช่องทางการรับรู้ข่าวสาร รับฟังความคิดเห็นให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง มีความเสมอภาคและสมัครใจการเข้าร่วมกิจกรรม สอดคล้องกับจินตวีร์ เกษมศุข (2559, หน้า 1-5) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการคิด ริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคล ได้มีส่วนช่วยเหลือระหว่างกันด้วยจิตใจและอารมณ์ของแต่ละบุคคลในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงานและร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของสังคม เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมเล็ก หรือสังคมใหญ่ ได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อสังคมนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน พัฒนา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจและแก้ปัญหาของตนเอง ร่วมใช้ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้และความชำนาญร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมที่แท้จริงคือการที่ประชาชนหรือชุมชนพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในสังคม เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจและสังคม และการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
1.4 กิจกรรมดี (Activity) พบว่าระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต อยู่ในระดับมาก กิจกรรมเสริมสร้างความรู้สึกรักและเห็นคุณค่าในตนเอง ตลอดจนการพัฒนาทักษะชีวิตมุ่งสร้างภูมิคุ้มกัน รู้จักตนเอง มีทักษะการคิด แสดงถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม และจริยธรรม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นกระบวนการที่มุ่งให้บุคคล กลุ่มบุคคล รวมถึงชุมชมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสอดคล้องกับ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545, หน้า 2-6) กล่าวว่า กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มการเข้าร่วมและปฏิบัติที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1)กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีซึ่งผู้สอนทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อและการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ 2)กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร ตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น และมีเป้าหมายสอดคล้องกับ จงรัก อินทรเสวก และคณะ (2544, หน้า104-133) กล่าวว่า แนวจัดกิจกรรมต้านภัยยาเสพติดในสถานศึกษา การดำเนินการป้องกันนักเรียน นักศึกษาให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดอาจไม่สามารถกระทำได้สำเร็จได้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและโทษภัยของยาเสพติด หรือแม้แต่วิธีการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดด้วยวิธีการสอนเพียงอย่างเดียว หากแต่ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ตลอดจนบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะต้องจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้เพราะการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของการสร้างจิตสำนึกและพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนทัศนคติทั้งที่บุคคลมีต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อน ต่อชีวิตและต่อสังคมให้ถูกต้อง การดำเนินการป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา โดยให้นักเรียน นักศึกษาเกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยการจัดกิจกรรมต้ายภัยยาเสพติดในรูปแบบต่าง เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยป้องกันนักเรียน นักศึกษาให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดได้เป็นอย่างดี
1.5 เป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติด (Numberone) พบว่าระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต สภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิต อยู่ในระดับมาก นักศึกษาส่วนใหญ่มีแนวคิดเป็นหนึ่งไม่พึ่งยาเสพติดการจัดกิจกรรมทางเลือกพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนตามสังคม ชุมชน ต้องมีความรับผิดชอบ ร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติตดรวมกลุ่ม ช่วยเหลือดูแล นักเรียน นักศึกษา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งสอดคล้องกับ เจริญศรี ด้วยรักษา (2550, หน้า 33- 38) กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการให้กำหนดกรอบนโยบายด้านการป้องกันยาเสพติดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาจำแนกกลุ่มเป้าหมายโดยการจำแนกนักเรียนออกตามลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกแบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1.1 กลุ่มนักเรียนที่ไม่เคยใช้ยาเสพติด 1.2 กลุ่มนักเรียนที่มีประสบการณ์ในการใช้ เหล้า บุหรี่ หรือเริ่มทดลองใช้ยาเสพติดบางชนิด และมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ แต่ยังไม่ติดยาเสพติด 1.3 กลุ่มนักเรียนที่ติดยาเสพติด 1.4 กลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมการค้ายาเสพติด และสอดคล้องกับ กรมสุขภาพจิต (2554, หน้า 30-31) กล่าวว่า ความรับผิดชอบหมายถึง ความสนใจความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความพากเพียรพยายามละเอียดรอบคอบเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายยอมรับผลกระทำของตนทั้งในด้านผลดีและผลเสียความรับผิดชอบเป็นคุณธรรมจริยธรรมที่สามารถปลูกฝักให้เกิดขึ้นได้ด้วยพฤติกรรมการปฏิบัติ โดยเน้นให้มีการฝึกรับผิดชอบตามวุฒิภาวะที่ค่อยไปทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนมอบหมายแล้วปล่อยให้ทำงานด้วยตนเองเต็มที่ให้มีประสบการณ์ทำงานด้วยตนเองแล้วค่อยเสริมแรงสร้างความเชื่อมั่นความรับผิดชอบจะเกิดขึ้นกับนักเรียนหรือบุคคล
1.6 ระดับความคิดเห็นต่อการนำไปใช้พัฒนาทักษะชีวิตตามสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ด้วยโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBERONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในรายด้านและภาพรวม อยู่ในระดับมาก
1.7. ระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ที่มีความเหมาะสมกับนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรม TO BE NUMBER ONE อยู่ในระดับมาก กิจกรรมฝึกทักษะอาชีพให้กับสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมการเล่นกีฬาต้านยาเสพติด การมีจิตอาสาบริจาคโลหิตของ สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ที่สอดคล้องกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2560, หน้า 14-25) กล่าวว่า พื้นฐานความเข้าใจและการยึดวัยรุ่นและเยาวชนเป็นศูนย์กลางข้างต้นนำไปสู่หลักการดำเนินงานของโครงการ TO BE NUMBER ONE ดังนี้ 1) ส่งเสริมการแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและช่วยสร้างเสริมความภาคภูมิใจ 2)ใช้สื่อ ดนตรี กีฬา ในการเข้าถึงเยาวชน และกระตุ้นให้เยาวชนเข้ามารวมกลุ่มกัน 3)สร้างความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญสำหรับเยาวชนในชุมชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด 4)เพื่อนช่วยเพื่อน 5)สร้างศูนย์รวมให้วัยรุ่นรวมกลุ่มกัน ทำกิจกรรมที่สนใจ สร้างสรรค์และเกิดสุข 6)สร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ที่มีศักยภาพ จะทำให้การดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน การป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด ต้องพยายามสร้างมาตรการทางสังคม ในการที่จะช่วยป้องกันปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น เนื่องจากยาเสพติดได้เข้ามาชักจูงหรือครอบงำวัยรุ่นได้ง่าย เพราะทัศนคติที่ถูกปลูกฝังในเด็กเยาวชนว่าแน่หรือเปล่า เมื่อเสพยาแล้วก็จะแน่ จะเท่ จะเป็นแมน จะเป็นคนกล้า การท้าทายกันแบบนี้ทำให้เด็กมีค่านิยมที่ผิดไป เมื่อมีค่านิยมที่ผิด ก็ต้องเปลี่ยนค่านิยมใหม่ เปลี่ยนทัศนคติใหม่ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดสำหรับเยาวชนนั้น ต้องสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเข้าใจถึงจิตใจ ความต้องการของเขา เพราะบางครั้งการเกิดปัญหายาเสพติดก็มาจากหลายสาเหตุ เราต้องสร้างค่านิยมใหม่ ต้องสร้างความมั่นใจให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง ให้เขาได้สนุกกับโดยพยายามหากิจกรรมต่างมาใช้ เช่น ดนตรี กีฬา สิ่งเหล่านี้ทำให้คนมีสังคม มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดี เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรมาร่วมด้วยกัน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดจากสังคมไทย ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ด้วยการทำงานขององค์กรใดองค์การหนึ่ง แต่ทุกองค์กรทุกฝ่ายต้องช่วยกันและการรวมตัวกันของผู้ที่มีความตั้งใจที่จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะทำให้เกิดพลังในการร่วมกันป้องกันปัญหายาเสพติดอย่างเข้มแข็ง
1.8 ความคิดเห็นต่อการศึกษาสภาพการใช้แนวคิด UICAN MODEL ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว TO BE NUMBER ONE นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 อันดับแรกดังนี้
1) นักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการให้สถานศึกษานำนักศึกษาไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนจากชมรม TO BE NUMBER ONE ดีเด่น
2) สถานศึกษาควรมีช่องทางโซเชียลมีเดียการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การแก้ไขปัญหายาเสพติด
3) สถานศึกษาควรตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยทำงานให้ คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ
ขอเสนอแนะ
ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช จากการวิจัยความสนใจกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักศึกษา กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอําเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังนี้
1) ผูบริหารสถานศึกษา ควรกําหนดนโยบายสงเสริมการอานอยางตอเนื่อง ครอบคลุมเชิงเนื้อหาและทั่วถึงในเชิงพื้นที่ และสนับสนุนใหเครือขายเขามามีสวนรวมในการสงเสริมการอานใหกับประชาชนในพื้นที่
2) ครู กศน. และบรรณารักษ ควรจัดกิจกรรมสงเสริมการอานใหกับนักศึกษา กศน. อยางสม่ำเสมอและหลากหลายเพื่อกระตุนใหเกิดนิสัยรักการอานเพิ่มขึ้น
4) งานการศึกษาตามอัธยาศัยควรตั้ง ชมรมหรือสโมสรรักการอ่าน โดยให้นักศึกษาที่รักการอ่านมารวมตัวกัน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการแสดงออก มีการแต่งตั้งอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเพิ่มขึ้น เพิ่มทูตการอ่านในชุมชน/หมู่บ้าน ขยายพื้นที่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ครอบคลุม และจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เหมาะกับวัยของผู้เรียน
5) ผู้บริหาร ครู กศน. หรือบุคลากรอื่นๆ ที่สนใจ หากนำผลการวิจัยความสนใจกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักศึกษา กศน. อำเภอน้ำปาด ไปปรับใช้ ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบและรัดกุม โดยเฉพาะการจัดทัศนศึกษา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกี่ยวข้องกับบุคคลและสถานที่เป็นจำนวนมาก ใช้งบประมาณมาก หากต้องเดินทางออกนอกสถานศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด ต้องตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหา หากไม่เป็นไปตามนั้นจะเกิดความไม่คุ้มค่าในการจัดกิจกรรม
เอกสารอ้างอิง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560. กรุงเทพฯ:
กรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนสำหรับครู. กรุงเทพฯ:
วงศ์กมลโปรดักชั่น
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพ
ติดและอบายมุข พุทธศักราช 2559. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์สกสค.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
จามจุรีโปรดักท์.