ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นายธันญพฤกษ์ ก้อนทอง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านทะนงชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน เพื่อวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินความพร้อมด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) เพื่อประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation) และเพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการ (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposivesampling) จำนวนทั้งสิ้น 76 คน ประกอบด้วย บุคลากรทางการศึกษา 14 คน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน จำนวน 49 คน, ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 36 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ดำรงตำแหน่งครู จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยมี ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.92 - 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 , S.D. = 0.44 ) และเมื่อพิจารณาประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็นพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น จำนวน 14 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.28 , S.D. = 0.60 ) เมื่อพิจารณาพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ด้านความต้องการความจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.13 , S.D. = 0.39 ) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.12 , S.D. = 0.37 )
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.26 , S.D. = 0.26 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ อยู่ในระดับมาก (= 4.40 , S.D. = 0.34 ) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก ( = 4.19 , S.D. = 0.34 ) และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( = 4.17 , S.D. = 0.26 ) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านประบวนการ ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.30 , S.D. = 0.19 )ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ด้านการวางแผนโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.45 , S.D. = 0.29 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการประเมิน สรุปและรายงานผลโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.24 , S.D. = 0.24 ) และด้านการดำเนินงานโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.23 , S.D. = 0.30 )ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 โดยการประเมิน 3 ประเด็นดังนี้
4.1 ด้านผลผลิตเพื่อประเมินผลสำเร็จของของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ( = 4.49 , S.D. = 0.33 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรก คือการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเป็นไปตามหลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด( = 4.75 , S.D. = 0.45 ) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเป็นไปตามหลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ( = 4.75 , S.D. = 0.45 ) รองลงมา คือ โรงเรียนมีห้องสมุดและมุมหนังสือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โครงการส่งเสริมการอ่าน ( = 4.66 , S.D. = 0.49 )
4.2 ด้านผลผลิตเพื่อประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนตามของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของครูและผู้ปกครองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.28) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรก คือ นักเรียนชอบอ่านหนังสือทั้งที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง( = 4.54 , S.D. = 0.50 ) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านสนใจ แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ มากขึ้น ( = 4.54 , S.D. = 0.50 ) รองลงมา คือ นักเรียนหาความรู้จากสื่อที่หลากหลาย เช่น อินเตอร์เนต Line แอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ( = 4.50 , S.D. = 0.50) และ นักเรียนชอบเล่าเรื่องจากหนังสือที่ได้อ่านให้ผู้อื่นฟัง ( = 4.26 , S.D. = 0.44 ) ตามลำดับ
4.3 ด้านผลผลิตเพื่อประเมิน เพื่อประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนตามของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรก คือ ข้าพเจ้าชอบอ่านหนังสือการ์ตูนนอกจากหนังสือเรียน( = 4.71, S.D. = 0.45 ) รองลงมา คือ ข้าพเจ้าชอบร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของโรงเรียน(= 4.59 , S.D. = 0.46 )และข้าพเจ้าชอบอ่านหนังสือนิทานเป็นประจำ ( = 4.54 , S.D. = 0.50) ตามลำดับ
4.4 ด้านผลผลิตเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านทะนงชัย ปีการศึกษา 2562 ตามความเห็นของ นักเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41 , S.D. = 0.66 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ด้านประโยชน์ของการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 , S.D. = 0.48 ) รองลงมา คือ ด้านประเภทของกิจกรรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.35 , S.D. = 0.19 )
5. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
5.1 ประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีผลการประเมินตัวชี้วัดในด้านความต้องการความจำเป็นของโครงการ มีค่าคะแนนมากเป็นอันดับแรก ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หลากหลานและต่อเนื่อง เพราะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนั้น เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาปลูกฝังนักเรียนให้มีคุณภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง
5.2 ประเด็นด้านปัจจัยเบื้องต้น ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีตัวชี้วัดในด้านบุคลากรมากที่สุด ผลการประเมินด้านที่น้อยสุด คือด้านงบประมาณ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรช่วยกันควรมีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ให้มากขึ้น เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนหางบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย ต่อเนื่อง
5.3 ประเด็นด้านกระบวนการ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดในด้านการวางแผนโครงการมากที่สุด อันดับต่อไป คือด้านการประเมิน สรุปผลและรายงานผล ด้านต่อไปที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาคือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ดังนั้นโรงเรียนดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การดำเนินงาน การประเมินและรายงานผลให้ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
5.4 ประเด็นด้านผลผลิต ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดด้านผลสำเร็จของโครงการมากที่สุด อันดับต่อไป คือด้านประโยชน์ของโครงการ สำหรับด้านที่มีผลการประเมินน้อยสุด คือ ด้านพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ดังนั้นโรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่นักเรียนชอบหลากหลายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเรื่องราว และการอ่าน เช่น การใช้การแข่งขันเล่านิทาน การประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ หรือการเขียนเรียงความจากเรื่องที่อ่าน