ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา”
ผู้วิจัย นายสมศักดิ์ นาเหนือ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา” อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา”อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ที่เรียนวิชานี้ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียกว่า “SERCAE Model” เป็นรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ที่พัฒนาขึ้น 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นการจูงใจ กระตุ้นเพื่อเตรียมความพร้อม (Stimulus : S 2) ขั้นประสบการณ์ (Experience : E) 3) ขั้นสะท้อนความรู้ (Reflection of Knowledge: R) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Creation of Knowledge : C) 5) ขั้นปฏิบัติ (Action : A) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) มีผลการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ภาษาที่ใช้ มีความเหมาะสม/สอดคล้องของประเด็นในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.69 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch
2. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 84.63/86.17 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2.2 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ผลการประเมินทักษะการสร้างชิ้นงานนำเสนอที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.74 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.48 โดยภาพรวมนักเรียนมีผลการประเมินทักษะการสร้างงานนำเสนออยู่ในระดับดีเยี่ยม
3. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้โปรแกรม Scratch กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาวิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน