ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต
และทักษะการจำแนกประเภท
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นายไพบูลย์ พรหมเผ่า ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 3 (หล่ายอิงราษฎร์บำรุง)
สังกัด กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบฯ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้
รูปแบบฯ และ 3) เพื่อน าเสนอรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือน
จริงเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
นอกห้องเรียน 2 คน ด้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์5 คน และด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 จ านวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ชุดกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนฯ
แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการสังเกตและ
ทักษะการจำแนกประเภท แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบรูบริค วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้เสมือนนอก
ห้องเรียน 3) ระบบจัดการเรียนรู้ในชุดกิจกรรมและบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 4) การประเมินผลการเรียนรู้
มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผนสำรวจ 2) เตรียมความพร้อม 3) ออกเดินทางค้นหา 4) จจำแนกข้อมูลลง
บันทึก 5) สรุปผลการเดินทาง 6) แบ่งปันข้อค้นพบ ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะ
การสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะ
การสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่าง
มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05