การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา
นัษฐภัชร์ ไกรงาม
200 หมู่ 5 ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 50170
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนา อัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา 2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา 3) ประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบกระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน การสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 292 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค 0.98 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมสนทนากลุ่มในการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา จำนวน 12 คน และกลุ่มตัวอย่างในการจัดทำรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา จำนวน 100 คน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยนำแบบประเมินให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ประเมินคุณภาพของรูปแบบในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามประเมินผู้เรียนก่อนการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน ในปีการศึกษา 2560 และแบบสอบถามประเมินผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน ในปีการศึกษา 2561 – 2562 ของผู้เรียน จำนวน 500 คน และศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น สอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 217 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการวิเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาอัตลักษณ์ทั้งสี่ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ ของผู้เรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.63, S.D. = 0.49) แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอัตลักษณ์ทั้งสี่ด้านที่ยังไม่เป็นระบบ นักเรียนมีคุณภาพดีในระดับหนึ่งซึ่งยังไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นหรือชักชวนผู้อื่นให้เป็นคนดีได้ ส่วนสภาพที่ต้องการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมทั้งสี่ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ((X ) ̅= 4.48, S.D. = 0.58)
แนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ในสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ((X ) ̅ = 1.75, S.D. = 0.59) ส่วนแนวทางในการพัฒนา อัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ในสภาพความต้องการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((X ) ̅= 4.60, S.D. = 0.53)
2. รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ชื่อ วัตถุประสงค์ หลักการ กระบวนการเสริมสร้าง ผลผลิต ผลการดำเนินงาน เงื่อนไขความสำเร็จและข้อมูลย้อนกลับ
3. ระดับการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯( X) = 4.65, S.D. = 0.55)
4. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา
4.1 ผลการศึกษาก่อนการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา ในปีการศึกษา 2560 ทั้งสี่ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (¯( X) = 2.63, S.D. = 0.49)
4.2 ผลการศึกษาค่านิยมไทย 12 ประการ ของผู้เรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ปีการศึกษา 2560 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (¯( X) = 3.38, S.D. = 0.68)
4.3 ผลการศึกษาหลังการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา ในปีการศึกษา 2561 ทั้งสี่ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (¯( X) = 3.52, S.D. = 0.56)
4.4 ผลการศึกษาค่านิยมไทย 12 ประการ ของผู้เรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (¯( X) = 4.13, S.D. = 0.57)
4.5 ผลการศึกษาหลังการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา ในปีการศึกษา 2562 ทั้งสี่ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านทักษะอาชีพ ด้านการใช้เทคโนโลยี (เก่งดิจิทัล) และด้านการมีจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯( X) = 4.57, S.D. = 0.59)
4.6 ผลการศึกษาค่านิยมไทย 12 ประการ ของผู้เรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ปีการศึกษา 2562 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (¯( X) = 4.82, S.D. = 0.63)
4.7 ผลการศึกษาความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการยุวชนทหารเป็นฐานการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯( X) = 4.63, S.D. = 0.62)
คำสำคัญ : รูปแบบ, อัตลักษณ์, กระบวนการยุวชนทหาร