ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC- A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย วัชนา นรสาร
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC- A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC- A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC- A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจคุณภาพและนำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ การเรียนการสอนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดเจียงอี) อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตามแบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ ขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC- A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC-A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) เอกสารประกอบรูปแบบ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC-A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความตระหนัก (Awareness : A) ขั้นที่ 2 ขั้นการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking : A) ขั้นที่ 3 ขั้นร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaboration : C) ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructing : C) และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Assessment : A) ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า รูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.50)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC-A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC-A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 2AC-A เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นคนดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.53)