รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ๑ (เหมืองแบ่งวิทยาคม)
ผู้วิจัย
ดร.กัญญนันทน์ ปัญญาดา
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ๓ (บ้านฟากนา)
รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ๒ (บ้านขอนแดง)
ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาประเทศและ ทรงถือว่า การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์ ดังกระแสพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ซึ่งได้พระราชทานไว้ ณ โอกาสต่างๆ ที่อัญเชิญมาบางตอนความว่า
...การพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดี กินดี มีความมั่นคงด้วยการให้การศึกษาการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็นทรัพยากรทางปัญญาที่มีค่าของชาติ...
...งานด้านการศึกษา เป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อม ของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมือง เป็นข้อใหญ่...
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 แตกต่างกันมากเพราะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้คนลดการเรียนรู้ทางด้านวิชาการลงแต่ไปเพิ่มการพัฒนาทักษะต่างๆ มากขึ้น ทั้งด้านทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะการคิด และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (ICT) สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ที่นานาประเทศทั่วโลกต้องใช้กลยุทธ์ต่างๆ
การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และสามารถนำความรู้ ทักษะกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้จากการจัดการเรียนการรู้แบบโครงงานไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงนำผลที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนมาจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และพัฒนาสมรรถนะสำคัญให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดและเชื่อมโยงไปหาสิ่งใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้และมูลค่าต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในสังคม ชุมชน ที่นักเรียนอาศัยอยู่ให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีตลอดไป
วัตถุประสงค์
การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 1 (เหมืองแบ่งวิทยาคม) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
2.1 เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังใช้รูปแบบ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
2.2 เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ
2.3 เปรียบเทียบความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังใช้รูปแบบ
2.4 เปรียบเทียบความสามารถในการวัดผลประเมินก่อนและหลังใช้รูปแบบ
2.5 เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังใช้รูปแบบ
2.6 เปรียบเทียบความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ
2.7 เปรียบเทียบความสามารถทางด้านทักษะการคิดและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ก่อนและหลังใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ครูและนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 1 (เหมืองแบ่งวิทยาคม) ในปีการศึกษา 2561 แบ่งเป็น ครูผู้สอน จำนวน 40 คน และนักเรียนจำนวน 558 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1. คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
2. แผนการพัฒนาครู
3. แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู
4. แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้
5. แบบประเมินงานวิจัยและการวิจัยในชั้นเรียน
6. แบบสังเกตการสอน
7. แบบประเมินตนเอง
8. แบบประเมินทักษะการคิด
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ ค่าที (t-test) แบบ Dependent และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน เป็นรูปแบบของการพัฒนาการเรียนการสอนแบบโครงงานบูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีชื่อว่า PANYADA MODEL มีองค์ประกอบประกอบสำคัญดังนี้ หลักการ: การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูจะช่วยครูให้สามารถบริหารจัดการการเรียนการสอนแบบโครงงานบูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามศักยภาพของผู้เรียนวัตถุประสงค์: เพื่อให้ครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ประกอบด้วย การออกแบบหน่วย การเรียนรู้ กลยุทธ์การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลและการวิจัย มีขั้นตอนในการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและวางแผนกำหนดเป้าหมาย (P = Planning and Analyzing Data Base) ขั้นที่ 2 บริหารจัดการข้อมูล (A = Administrating Information) ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่ายข้อมูลปฏิบัติการ (N = Network Team) ขั้นที่ 4 ผสานการสอนแบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น (Y = You Integrate Project Based Learning with Local Wisdoms) ขั้นที่ 5 เชี่ยวชาญการวัดและประเมินผล (A = Assessment of Learning Outcomes) ขั้นที่ 6 วินิจฉัยการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล (D = Diagnosing Students) และขั้นที่ 7 พัฒนาและแก้ปัญหาด้วยการวิจัย (A = Development Learning to Research) รายงานและขยายผลอันเกิดจาก การสังเคราะห์หลักการแนวคิดและทฤษฎีเพื่อได้มาซึ่งรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน และนำรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนไปตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และยังพบว่า รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน มีความสอดคล้องกับหลักการวัตถุประสงค์ ขั้นตอน เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และความสามารถของครู รวมถึงมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ศึกษาทดลองกับโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 1 (เหมืองแบ่งวิทยาคม)
2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครู เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 1 (เหมืองแบ่งวิทยาคมพบว่าหลังการใช้รูปแบบครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการรู้แบบโครงงานบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะการสอนของครูในด้านการวิเคราะห์ผู้เรียนอยู่ในระดับดีมากด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากด้านการจัดการเรียนการรู้ด้วยกระบวนการวิจัยอยู่ในระดับดีด้านการวัดผลประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุดนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดีมากและผลการขยายผลให้กับโรงเรียนเครือข่ายพบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบโครงงานเพิ่มขึ้น