หัวข้อเรื่องที่ศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางวิจิตรา สมทรัพย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงานที่สังกัด เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2. สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4. ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน The One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาลอำเภอหาดใหญ่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 แผน ใช้เวลาสอนรวม 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.330.73 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.210.94 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 แบบทดสอบวัดความสามารถในการเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.490.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และแบบวัดความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า EFACE Model มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) 4) การวัดและประเมินผล 5) ระบบสนับสนุน (Support System) โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมเพิ่มความพร้อมน้อมสู่ปัญหา (E: Elicitation and Trouble) 2) ขั้นที่ 2 ขั้นรวมเพื่อนนำพาค้นหาสำรวจเพื่อตรวจตั้งสมมติฐาน (F: From a group and hypothesize) 3) ขั้นที่ 3 ขั้นรวบรวมจัดวิเคราะห์พาประยุกต์มุ่งคำตอบ (A: Aggregate to analyze) 4) ขั้นที่ 4 ขั้นเทียบสมมติฐานผลักดันสะท้อนย้อนอธิบายขยายความ (C: Check hypothesis) และ 5) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและผ่อนคลายขยายกิจกรรม (E: Evaluation and relax)
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่า E1 /E2 เท่ากับ 81.60/81.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวม ความสามารถในการเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการพัฒนาความสามารถในการเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ EFACE Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.12)