ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางจินตนา เงินสมบัติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2562
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและ ความต้องการในการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อประเมินผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาได้มาโดยการได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามครูผู้สอน 2) แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 3).เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4). คู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 6) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน เรื่องAmazing Photharam 7) แบบประเมินคุณภาพอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมุติฐานแบบ t-test dependent Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาจากการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สาระความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ด้านหลักการของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อสร้างความรู้จากการปฏิบัติด้วยการมีปฏิสัมพันธ์จากการร่วมมือกันเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบโดยมีรูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาความสามารถในการสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
1.2 ด้านกระบวนการเรียนการสอนเป็นการสอนแบบ Sakce Model มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulation : S) )2) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action Learning : A) (3) ขั้นถ่ายโยงความรู้(Knowledge transfer : K) (4) ขั้นสร้างความรู้ (Communication : C) (5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) การเรียนโดยการประเมินเป็นรายบุคคล และประเมินเป็นกลุ่มทำให้เกิดความเข้าใจได้สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน เป็นส่วนแสดงสิ่งที่จัดให้นักเรียนเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิเคราะห์ การเรียนรู้สามารถสรุปเรื่องได้ ทักษะการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และการร่วมมือกันส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมและทักษะการปฏิบัติงาน
1.3 ด้านความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ดีควรมีเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ส่งเสริมการเรียนด้วยความสนใจ และจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ สามารถคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความแตกต่างของบุคคล
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ
2.1 ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง(One to One Testing) จำนวน 3 คน พบว่ามีค่าประสิทธิ์ภาพ เท่ากับ 71.43/72.86
2.2 ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบกลุ่มเล็ก (Small group One testing) จำนวน 9 คน พบว่ามีค่าประสิทธิ์ภาพ เท่ากับ 75.24/78.89
2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบภาคสนาม (Field group One testing) จำนวน 30 คนพบว่ามีค่าประสิทธิ์ภาพ เท่ากับ 81.48/82.95
3. ผลการทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3.1 ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านการหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 นำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คนได้ผลการทดลองหาค่าประสิทธิภาพคะแนนเฉลี่ยนักเรียนที่ทำแบบทดสอบระหว่างเรียน มีค่าเท่ากับ 83.00 และคะแนนเฉลี่ยนักเรียนที่ทำให้แบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 84.14 มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เท่ากับ 83.00/84.14
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3.3 ผลคะแนนเฉลี่ยจากแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ครั้งที่ 1 จนถึงครั้งที่ 7 มีคะแนนร้อยละดังนี้ ครั้งที่ 1 คือ 80.33 ครั้งที่ 2 คือ 81.56 ครั้งที่ 3 คือ 82.44 ครั้งที่ 4 คือ 83.67 ครั้งที่ 5 คือ 84.56 ครั้งที่ 6 คือ 85.78 และครั้งที่ 7 คือ 86.33 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการประเมินทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ครั้งที่ 2 เพิ่มสูงขึ้นกว่าครั้งที่ 1 คะแนนเฉลี่ยครั้งที่ 3 สูงขึ้นกว่าครั้งที่ 2 และครั้งต่อ ๆ ไป คะแนนสูงขึ้นจนถึงครั้งที่ 7
4. ผลการประเมินการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.86 โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดนี้ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนและสนุกสนานต่อการเรียน