งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet
รายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอุไรวรรณ เทียนทอง
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ทักษะการเรียนรู้เป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การได้รับหรือเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความสนใจในการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างดีด้วย สำหรับนักเรียนแล้ว การพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ควรได้รับการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนทั้งด้านสติปัญญาและด้านพฤติกรรม เพื่อให้การเรียนรู้มีความสมบูรณ์และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการเรียนระดับสูงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
เป้าหมายของรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะ การเขียนโปรแกรมเพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (coding) การนำความรู้ ทักษะการทำงานและ การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอื่นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทักษะ การเขียนโปรแกรมและการเรียนรู้ด้านวิทยาการคำนวณเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในปัจจุบันไปแล้ว
จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้น เห็นได้ถึงความสำคัญของการการเรียนรู้วิชารายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญและทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet รายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนและต่อยอดความรู้ในการฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้หรือค้นหาตนเอง พร้อมทั้งนำผล การพัฒนาไปใช้ในการเรียนรู้รายวิชาอื่น เพื่อนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพพร้อมเกิดความรู้และทักษะกับนักเรียนอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2
สมมติฐานการวิจัย
เมื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 แล้วพบว่า นักเรียนมีความรู้/ทักษะการเขียนโปรแกรม พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีและสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ได้
2. ครูมีแนวทางในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มาตรฐานตัวชี้วัดของรายวิชาและตามธรรมชาติของนักเรียน
ขอบเขตการวิจัย
ตัวแปรที่ทำการศึกษา
ตัวแปรต้น / ตัวจัดกระทำคือ การเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet
ตัวแปรตาม คือ ทักษะ/พัฒนาการและพฤติกรรมการเรียนรู้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
ศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา
ว22103 วิทยาการคำนวณ 2
ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา/
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
เอกสารหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
สุรางค์ โค้วตระกูล (2553: 185) กล่าวว่า การเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอน (ทิศนา แขมมณี ,2550,หน้า10)
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้หรืออยากจะเรียนรู้ ทำให้เกิดความคิด ความอ่านและเกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญาซึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย (Gagne) ประกอบด้วย
ผู้เรียน (Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้ สิ่งเร้า (Stimulus) คือสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจาก การเรียนรู้สื่อประสมหรือสื่อ มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อหลายแบบ โดยในปัจจุบันมีการใช้สื่อกลาง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อยู่มากมายและเพื่อสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
การเรียนการสอนด้วย E-Learning ยุค e มีวิวัฒนาการเริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2533 เมื่อมีเทคโนโลยีซอฟต์แวร์เบราเซอร์ที่ ช่วยให้การใช้อินเตอร์เน็ตทําได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทําให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสารสนเทศอย่างกว้างขวาง รวมทั้งด้านการศึกษาด้วย จนพูดได้ว่ามนุษยชาติได้เข้าสู่ยุค e ตัวอักษร e แทนคําว่า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-mail , e-Commerce, e-Learning ฯลฯ ปัจจุบันจึงไม่แปลกเลยที่ หลาย ๆ วงการ และสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จะให้ความสําคัญกับคําว่า e-Learning รวมทั้งวงการการศึกษา ในประเทศไทยด้วยกิจกรรม e-Learning ในไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542โดยได้มีการจัดฝึกอบรมเรื่อง e-Learning แก่คณาจารย์ของราชมงคลทั่วประเทศที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ต่อมาสถาบันราชภัฏก็ได้มีการฝึกอบรมคณาจารย์จํานวนมากให้เข้าใจถึงการ เรียนแบบ e-Learning มากขึ้นแต่ก็ยังมีสถานศึกษาอีกหลาย ๆ ที่ที่มีระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยการนําไฟล์ประกอบการเรียนการสอนภายในห้องเรียนต่างๆ นําไปแขวนบนระบบ การจัดการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) แล้วให้นักเรียน นักศึกษา ดาวน์โหลดไปอ่านเป็นรูปแบบสื่อเสริมสื่อเติม ซึ่งจะไม่มีความแตกต่างจากการเรียนจากหนังสือมากนัก การเรียนการสอนแบบ e-Learning ที่จะทําให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดควรที่ประยุกต์นําทฤษฏีทางการศึกษาเข้ามาร่วมด้วย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน (Instruction Design) สําหรับการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยเฉพาะ จนไปถึงการจัดกิจกรรมบนระบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ โดยส่วนนี้ผู้สอนจะมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการการเรียนการสอน eLearning บางครั้งเราคิดว่าการเรียนการสอนแบบ e-Learning จะทําให้อาจารย์ผู้สอนสบายขึ้นแต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่และบทบาทมากขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบการเรียนการสอน 16 สําหรับ e-Learning ติดต่อประสานงานผู้ออกแบบสื่อ หรือบางครั้งอาจจะต้องรับบทบาทผู้ออกแบบและสร้างสื่อเสียเอง จัดกิจกรรมต่าง ๆ บนระบบการจัดการเรียนรู้และต้องคอยติดตามรายงานผลของข้อมูลนักเรียน นักศึกษา กรณีที่เป็นรายวิชาที่ต้องจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียนด้วยก็เป็นที่แน่นอนว่าอาจารย์ผู้สอนต้องรับบทบาทเป็นสองเท่า การจัดกิจกรรมบนระบบการจัดการเรียนรู้อย่างสมํ่าเสมอจะทําให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นและเข้ามาเรียนรู้อย่างจริงจัง การจัดกิจกรรมบนระบบการจัดการเรียนรู้เราสามารถที่จะนําทฤษฏีทางการศึกษาต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น ทฤษฏีการเรียนแบบร่วมมือ (Co-operative Learning) ปัจจุบันระบบการจัดการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) ที่ได้มาตรฐานสามารถที่จะโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองได้อย่างง่ายดาย การฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะทําให้การเรียนการสอนแบบ e-Learning เกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการเรียนแบบ e-Learning ไม่ได้เป็นเพียงการเรียนโดยการรอรับความรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่เป็นการเรียนโดยที่ผู้เรียนต้องเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงได้รับการฝึกฝนทักษะในการค้นหาข้อมูล การเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือกวิธีการเรียนรู้และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้การที่คนมีความสามารถในการเรียนรู้จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ซึ่งหากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ของคนไทยและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยังยืนการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย เครือข่ายการเรียนรู้(Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างบุคคลกลุ่มบุคคลองค์การและแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกันส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม เครือข่ายการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ทั้งในระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาอุดมศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานและเครือข่ายการสื่อสาร การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่และบุคคลซึ่งผู้เรียน สามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใดกับบุคคลใดก็ได้ โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษาและเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
- เป็นการเรียนร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
- จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
เมื่อนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้เข้ามาใช้กับระบบการศึกษาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในวงการศึกษาดังนี้
รูปแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้สอน
บทบาทของผู้เรียน
บทบาทของการเรียนการสอน
ห้องเรียนสำหรับผู้สอน
ศูนย์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน
ฐานบริการข้อมูลการเรียน
Student Homepage การเรียนการสอนออนไลน์ ( Online Teaching and Learning )
e-Book, e-Journal คือการเปลี่ยนหนังสือ/ตำรา (book) และวารสารวิชาการ (journal) ให้อยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมักจะเรียกดูได้ผ่าน Web รูปแบบที่นิยมคือ จัดให้อยู่ในรูปแบบของเอกสาร HTML หรือเอกสาร PDF (Portable Data Format) เอกสาร PDF ก็คือเอกสารที่ เตรียมด้วย Microsoft Word แต่แปลงให้เป็นไฟล์ PDF เพื่อที่ผู้ใช้สามารถอ่านและพิมพ์ได้เท่านั้น e-Library หรือ Virtual Library มีความหมายเดียวกันคือ ความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทําให้การเข้าถึงสารสนเทศที่อยูในห้องสมุดจะทําที่ใดก็ได้ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ การอ่านสารสนเทศที่ต้องการ ตลอดจนการยืม-คืนสารสนเทศที่ต้องการ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัย/ห้องสมุดเป็นจํานวนมากมีความพยายามในการแปลงองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูป ของ e-Book เช่น วิทยานิพนธ์/ ปริญญานิพนธ์ของนิสิต/นักศึกษา งานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ อาจารย์และบุคลากร รวมทั้งเอกสารทุกชนิดที่จัดทําโดยมหาวิทยาลัย e-Educationหรือ Virtual Education หรือ Online Teaching and Learning คือรูปแบบการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลักในการดําเนินงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ใดก็ได้ (anywhere) เมื่อใดก็ได้ (anytime) ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนทางไกล โดยที่ Online Teaching and Learning จะเน้นระบบและกลไกในการดําเนินงานแบบออนไลน์ Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สําหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทําในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออก เป็นบทเรียนแต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนําเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จาก ห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่า ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนําเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ ทําไม่ได้หรือทําได้ยาก e-Learning คือการเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก อาจจะเป็น การเรียนรู้อย่างไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) เช่น การสืบค้นสารสนเทศหรืออ่านสารสนเทศที่อยู่บนเว็บ เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง ตลอดจนถึงการเรียนรู้ที่เป็นโครงสร้าง (structured) หรือเป็นระบบ เช่น การเรียน Virtual University คือ มหาวิทยาลัยที่มีการเปิดการเรียนการสอนทางไกล โดยกิจกรรมหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการจัดการเรียนการสอนจะใช้ระบบออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ e-Commerce ทางการศึกษาการจัดการศึกษาแบบ Virtual University นี้อาจจะดําเนินการโดยใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อยู่คนละแห่งมาร่วมมือกันได้เป็นเครือข่ายการเรียนการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสําคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอน ในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจําเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้น ๆ ด้วยสื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดําหรือ ไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจํากัดในตัวเอง สื่อมัลติมีเดีย ก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจํากัด ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นําเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้ เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดียอมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสําคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทํางานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ นับว่า คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งานอย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลําดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรม ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทําให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสําหรับคนทุกคนทุกอาชีพ เมื่อกล่าวถึง ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้น จะนํามาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดียและแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้นคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์และข้อความเข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน คือ กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย padlet
ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ที่ได้ทำการวิจัย พบว่า เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ไปแล้วนั้น มีจำนวนร้อยละของนักเรียนในห้อง ม.2 ที่มีผลการพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมการส่งงานที่ดีขึ้นร้อยละ 95 ของนักเรียนทั้งหมด และใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนพบว่า นักเรียนมีความสุข สนุกสนานและร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และมีกำลังใจในการทำงานและมีความพยายามในการเรียนรู้มากขึ้นในทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ ในทุกชั่วโมงจะมีการร่วมแสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือเพื่อนที่พบเจอปัญหาในระหว่างทำกิจกรรมให้สามารถปฏิบัติได้จนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นกัลยาณมิตรอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดเวลาสอนควรจัดให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเวลาที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมผู้สอนต้องพยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมภายในเวลาที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยไป
2. ควรมีการแบ่งเวลาการซ่อมเสริมนักเรียนแต่ละวิชาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความเครียดกับการเรียนรู้ที่มากเกินไป
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพ ฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย