ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
อย่างมีความสุข (Happy workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล
ชื่อผู้ประเมิน : นางฝาริดะ หมื่นชล
ปีการศึกษา : 2562
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีความสุข (Happy workplace) โรงเรียนอนุบาลละงูจังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินปัจจัยโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 2) เพื่อประเมินกระบวนการ การดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการได้แก่ 3.1 ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 3.2 ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562
4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการ ได้แก่ 4.1 โรงเรียนอนุบาลละงูเป็นองค์กรแห่งการเรียนอย่างมีความสุข 4.2 ครูโรงเรียนอนุบาลละงู จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
4.3 นักเรียนโรงเรียนอนุบาลละงู ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักเรียน จำนวน201 คน ครู จำนวน 44 คน ผู้ปกครอง จำนวน 201 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .941 - .976 และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัย (Input) ของโครงการการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.28, S.D. = 0.44) รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ (x̄ = 4.26, S.D. = 0.37) ส่วนตัวชี้วัดด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.16, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
2. ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55 , S.D. = 0.09) รองลงมาคือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.07) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.40, S.D. = 0.25) อยู่ในระดับมาก
3 ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ จำแนกเป็น
3.1 ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. =0.04) รองลงมาคือ กลุ่ม ครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.69,S.D. = 0.07) ส่วนกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67,S.D. = 0.0.06)
3.2 สรุปผลการประเมินระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนิน โครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. =0.12) รองลงมาคือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44,S.D. = 0.11) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก เช่นกัน (x̄ = 4.42,S.D. = 0.11)
4. ด้านผลลัพธ์ (Outcome หรือ Effect + Impact) ของโครงการ จำแนกเป็น
4.1 สรุปผลการประเมินคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. =0.12) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.48,S.D. = 0.17 ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48,S.D. = 0.17) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 สรุปผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.65, S.D. =0.16) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62,S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.48,S.D. = 0.17)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
1.2 ควรยกย่อง เชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนอนุบาลละงู จังหวัดสตูล แก่บุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบ (IPOO Model) ไอปู้โมเดล
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่งผลต่อพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป