วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการเรียนในทุกวิชา เด็กนักเรียนควรจะมีทักษะในการอ่านและการเขียนได้ถูกต้องในกลุ่มภาษาไทย พบว่าจากผลสัมฤทธิ์ของเด็กนักเรียนที่เรียนมาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีเด็กนักเรียนที่เขียนคำในภาษาไทยไม่ถูกต้องจำนวน 10 คน จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและพัฒนาเด็กที่มีปัญหาให้ดีขึ้น
ฉะนั้นครูผู้สอนจึงต้องมีการคิดวิธีการที่จะแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำแบบฝึกเขียนไทยมาให้นักเรียนได้ฝึกทำเพื่อจะได้เขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง และมีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน มีเกณฑ์ที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อแก้ปัญหาการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกหัดเขียนไทย
ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน
2. ตัวแปร
แบบฝึกเขียนคำภาษาไทย
3. ตัวแปรตาม
ความสามารถในการเขียนคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 30 ตุลาคม 2563
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยก่อนการฝึกและสรุปผล
2. ฝึกเขียนคำประกอบภาพและเขียนคำในมาตราแม่ ก.กา , แม่ กก , แม่ กด และแม่ กน
3. ทดสอบความสามารถในการเขียนคำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่ กก , แม่ กด , แม่ กบ , แม่ กน หลังฝึกและสรุปผล
4. ทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทย หลังการฝึกและสรุปผล
5. สรุปรายงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนคำภาษาไทยจำนวน 5 ชุด
- แบบทดสอบเขียนประกอบภาพและคำในมาตราแม่ ก. กา
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กก
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กด
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กบ
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กน
วิธีรวบรวมข้อมูล
ทำการทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยรวม 5 ชุด
- การทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยก่อนฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำประกอบภาพและคำในมาตราแม่ ก.กา หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำประกอบภาพและคำในมาตราแม่ กก , กด หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำประกอบภาพและคำในมาตราแม่ กบ , กน หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยหลังฝึก
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ร้อยละ
สรุปผลการวิจัย
ผลสรุป
จากที่ครูได้พบปัญหาของนักเรียนคือด้านการเขียน ครูได้พบนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีปัญหาด้านการเขียนไม่ถูกต้อง เนื่องมาจาก
1. นักเรียนยังไม่เข้าใจมาตราแม่สะกด
2. นักเรียนขาดความสนใจ
การสรุปการวิจัยในครั้งนี้เป็นการสรุปการวิจัยซึ่งมียังมีเนื้อหาที่ครูต้องฝึกเด็กนักเรียนอีก แต่ช่วงเวลาที่ทำไม่เพียงพอ ครูจึงได้สรุปการวิจัยเท่าที่ครูได้ทำการวิจัยกับนักเรียน
ครูได้ทำชุดฝึกให้แก่นักเรียนซึ่งก่อนที่นักเรียนจะทำชุดฝึก ครูจะอธิบายเนื้อหาให้นักเรียนได้เข้าใจก่อนทุกครั้ง ชุดฝึกที่ครูได้จัดทำขึ้นครูเริ่มจากคำที่เขียนง่ายๆ โดยเริ่มจากมาตราตัวสะกดแม่ ก. กา ก่อน ในชุดฝึกมีการทบทวนทำหลายๆ ครั้งอย่างน้อย 10 ครั้งในแต่ละมาตรา ทำให้นักเรียนมีการทบทวนและฝึกความจำในเด็กนักเรียนบางคนก็ยังไม่ค่อยมีสมาธิยังจำไม่ค่อยได้ แต่ครูก็พยายามคิดแบบฝึกสอดแทรกในแต่ละมาตราตัวสะกดมากกว่า 10 ชุด เพื่อนักเรียนจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น ครูจะหาคำง่ายและเริ่มหาคำที่ยากขึ้น ครูจะฝึกจนนักเรียนสามารถเขียนคำได้และนำคำมาแต่งประโยคได้
จากการวิจัยในครั้งนี้ครูยังทำให้นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น เด็กนักเรียนสามารถที่จะโต้ตอบกับครู ได้อย่างมั่นใจ ซึ่งจะแตกต่างกับที่นักเรียนได้ร่วมเรียนกับเพื่อนที่เก่ง ครูจะสังเกตได้จากที่นักเรียนได้โต้ตอบกับครู นักเรียนมีความสุขและดีใจที่เขาสามารถตอบได้ถูกและเขียนได้ถูกต้อง การทำชุดฝึกทุกครั้งจะมีคะแนนให้ทุกครั้งทำให้นักเรียนได้รู้ว่าตนเองมีการพัฒนามากขึ้นเพียงใด แต่จากการวิจัยใช่ว่าจะผ่านหมดทุกคน ก็ยังมีบางคนที่ยังไม่ผ่านในการเขียน ซึ่งครูก็ต้องเก็บมาทำการวิจัยต่อไป โดยจะต้องมีการทำชุดฝึกแบบใหม่ที่จะทำให้เด็กได้เข้าใจได้ง่ายและสามารถทำได้เขียนได้ถูกต้อง
การทำวิจัยของครูในครั้งนี้นับว่าผ่านประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ซึ่งครูก็ดีใจเพราะเด็กนักเรียนสามารถเขียนได้และมีความเข้าใจในมาตราตัวสะกดและสามารถเขียนได้ถูกต้อง
จากที่ครูได้ทำการวิจัยในครั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับครูที่จะพัฒนาการสอนของตนเอง และเมื่อมีปัญหาครูก็ควรจะแก้ปัญหานั้นใด้ดีขึ้นยิ่งกับนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากที่ครูทุกท่านควรสนใจเป็นอย่างมาก
ครูคิดว่าครูจะนำการวิจัยในครั้งนี้ไปปฏิบัติและพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน เขียนคำภาษาไทยได้ดีขึ้น