ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นางสาวสุดใจ ขวัญสกุล
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์.1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการเลือกการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster.Random.Sampling).โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.2).แบบประเมินความสามารถด้านทักษะอาชีพ 3) แบบประเมินจิตสำนึกรักท้องถิ่น 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ (t-Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นความสำคัญในการศึกษาสภาพบริบทเกี่ยวกับสถานศึกษาเพื่อนำมาใช้ในฐานในการจัด การเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพการจัดการเรียนรู้ปัจจุบันโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ผลสำเร็จของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพโดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ผลสำเร็จของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอน 2(ECA) .Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นประสบการณ์การเรียนรู้ (Experience leaning : E) 2. ขั้นแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchanging : E)
3. ขั้นนำเสนอเนื้อหาสาระ (Content presentation : C) 4. ขั้นการเรียนรู้จากชุมชน (Community leaning : C).5..ขั้นฝึกปฏิบัติด้วยโครงงาน(Action.:.A) 6) ขั้นการนำไปประยุกต์ใช้(Apply) ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ ของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี รูปแบบการสอนมีค่าประสิทธิภาพ 83.62/82.92แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
3.1 ความสามารถด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก
3.2 พฤติกรรมด้านจิตสำนึกรักท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก