คำสำคัญ : โรงเรียนวิถีบวก/รูปแบบโรงเรียนวิถีบวก/การเรียนรู้อย่างมีความสุข
รสพร ทองธรรมจินดา : รูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา, 255 หน้า
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา (R1) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา (D2) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ (R2) และ4) เพื่อประเมินผลรูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา (D2) กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยระยะที่ 1 (Analysis : Research1 : R1)เป็นการศึกษาองค์ประกอบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระยะที่ 1 (Design and Development : Development1 (D1)) เป็นการพัฒนารูปแบบโรงเรียนวิถีบวกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การวิจัยระยะที่ 2 (Implementation : Research2 (R2)) การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนวิถีบวกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นการพัฒนาระยะที่ 2 (Evaluation : Development2 (D2)) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบโรงเรียนวิถีบวกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา ขั้นการวิจัยระยะที่ 1(R1) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 47 โรงเรียน และประชากรที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 (R2) คือครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ จำนวน 10 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis) การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ ด้านวัฒนธรรมเชิงบวก ด้านการสอนเชิงรุก ด้านการเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้านความผูกพันกับการเรียนรู้ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและด้านทักษะการแก้ปัญหา
2. การพัฒนารูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขนักเรียนประถมศึกษา พบว่ารูปแบบเชิงแนวคิดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งพิจารณาได้จาก ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 0.34 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 2 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0. 84 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากที่สองของเศษเหลือที่ทำให้เป็นค่ามาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.0024 ค่าตัวอย่างวิกฤต (CN) เท่ากับ 11059.29 ซึ่งมากกว่า 200 และค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 0.17 จึงแสดงว่ารูปแบบสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ พบว่า ผลการทดลองใช้รูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลังทดลองใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนทดลองใช้รูปแบบ
4. ผลการประเมินรูปแบบโรงเรียนวิถีบวกที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนประถมศึกษา โดยการตรวจรูปแบบผลการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องครอบคลุมสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการวิจัย และปรับปรุงรูปแบบตามคำแนะนำก่อนเผยแพร่ผลการวิจัย เพื่อความสมบูรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น