ชื่อรายงาน: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 21052101
ชื่อผู้วิจัย: นายสิทธิชัย กุลศรี
ปีที่จัดทำ: 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา
21052101 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และ ttest
ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า
1) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดคือ ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ( = 4.82) และด้านที่มีค่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดคือ ด้านแบบฝึกทักษะ ( = 4.48) น้อยที่สุดรองลงมาคือ ด้านแบบทดสอบ ( = 4.56)
2) ค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 71.50/68.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 70/70 เมื่อพิจารณาค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการสอนแบบ TAI สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 เป็นรายหน่วย พบว่า หน่วยที่มีค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 สูงที่สุดคือหน่วยที่ 1 (91.80/86.00) รองลงมาคือหน่วยที่ 2 (83.10/79.00) และหน่วยที่มีค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 น้อยที่สุดคือ หน่วยที่ 8 (63.70/61.00) รองลงมาคือหน่วยที่ 7 (68.90/66.00) และ 4 (68.95/65.00) ตามลำดับ
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หน่วย 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหหลังเรียนสูงที่สุดมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 90.60 ของคะแนนเต็ม รองลงมาคือหน่วยที่ 2 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 7.79 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.90 ของคะแนนเต็ม
และหน่วยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนต่ำที่สุดคือหน่วยที่ 8 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 12.74 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 63.70 ของคะแนนเต็ม และหน่วยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต่ำรองลงมาคือหน่วยที่ 4 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.60 ของคะแนนเต็ม
4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105 2101 พบว่ามีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70) เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของนักเรียนเป็นรายข้อของการประเมิน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ( = 5.00) โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การจัดสภาพห้องเรียน ( = 3.60) มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก