บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมี
ส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ ระยะที่ 3 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน ในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานและตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่ามีปัญหา 3 ด้านคือ 1) ปัญหาด้านนักเรียน นักเรียนไม่มีระเบียบวินัยในตนเองขาดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) ปัญหาด้านครูคือ ครูไม่ได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการยังยึดการสอนแบบเดิมไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการสอนและ 3) ปัญหาด้านชุมชนคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองจากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันประเด็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด คือ ปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP) เป็นการให้คนในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิทยากรในการสอนนักเรียนและชุมชนให้เกิดอาชีพใหม่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนำเอาผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีผลงานในการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่เป็นเลิศให้เป็นกรอบในการร่างรูปแบบโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มี 2 องค์ประกอบหลักคือ 1) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และ 2) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 19 กิจกรรมย่อย รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 19 กิจกรรมย่อย
3. ผลการประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมากที่สุดโดยผู้ร่วมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบและความพึงพอใจต่อสภาพการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดส่งผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ
3.1 ระดับบุคคลได้แก่นักเรียนมีทักษะชีวิตมีการทำงานเป็นทีมมีความใฝ่รู้เรียนรู้
อย่างต่อเนื่องผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ระดับกลุ่ม ได้แก่ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
3.3 ระดับองค์กรได้แก่มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยสถานศึกษาและต้น
สังกัดมีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ทำให้จัดการศึกษาได้บรรลุเป้าหมายผ่านการประเมิน สมศ.
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบ, การบริหารวิชาการ, การยกระดับคุณภาพการศึกษา