การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
4) การประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และครูผู้สอน โรงเรียนบ้านหนองแหน จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้แก่ครูที่สมัครเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและทักษะการจัดการเรียน การสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก และด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้แก่ครูที่สมัครเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ การเรียนรู้ร่วมกัน วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายร่วม ทีมงานร่วมแรงร่วมใจ หรือร่วมมือร่วมพลัง ร่วมเป็นผู้นำ การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ ชุมชนกัลยาณมิตร และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน และการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้แก่ ด้านความรู้ ด้านความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และด้านเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาการ กระบวนการ และการวัดและประเมินผล (2.1) ผลการประเมินความความเหมาะสมของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3.1) ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ก่อนการอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีค่าเฉลี่ย 10.73 หลังการอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าเฉลี่ย 18.17 (3.2) ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอน โรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก และ (3.3) ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอน โรงเรียนใน สหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีเจตคติ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนโรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก