การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู
โดยประยุกต์ใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนบ้านโคกลาด
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย บรรจุ ภูสงัด
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านโคกลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการ
ที่มีประสิทธิผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียน
บ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหาร ครูวิชาการและครูผู้สอน โรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 เขต 4 ผู้วิจัย
ใช้จำนวนโรงเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางสำเร็จรูป Krejice and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 144 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 432 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และ S.D. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแล้วจัดลำดับและศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3 แห่ง ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้แนวทางการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน พบว่า องค์ประกอบ
การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล มี 7 ด้าน 44 ตัวชี้วัด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
4) ด้านการนิเทศการศึกษา 5) ด้านการแนะแนวการศึกษา 6) การพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 7) ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และ 8) ใช้แนวคิดการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและ
ใช้วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) ขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล
และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด พบวาส มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่มุด
4. ผลการใช้แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนบ้านโคกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน หลังการนำแนวทางการบริหารงานไปใช้ พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ
มาก