ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ประเมิน : นายวีระ ชิดชม
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา :2562
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียน 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนและ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและผู้บริหาร นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 385 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบสอบการประเมินการประเมินผลโครงการด้วยการพัฒนาผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริ ในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบริบทของโครงการตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยนําเข้าของโครงการ ตอนที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการตอนที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำแนกเป็น 5 กิจกรรมและ 2) ด้านความคิดเห็นที่มีต่อการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ จำนวน 12 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ด้านบริบทผู้บริหารครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือด้านวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับนโยบายของพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีจำนวนเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านงบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีเฉลี่ยต่ำสุด
3.ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการวางแผนดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมลงสู่ชุมชน/เผยแพร่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4. ด้านผลผลิต
การประเมินคุณลักษณะ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า กิจกรรมการพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด กิจกรรมฐานคุณธรรมด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
การประเมินความคิดเห็นต่อโครงการ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด