บทคัดย่อ
หัวข้อการรายงาน รายงานการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยการบริหาร
แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ผู้รายงาน นายสุวิจักขณ์ เหมือนโพธิ์
ปีการศึกษา 2561
การรายงานการพัฒนาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา ในการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียน การสอน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านการพัฒนาศักยภาพครู 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อรายงาน ผลการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของ เครจซี&และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 607 - 610) คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอนุบาลท่าตะโก จำนวน 254 คน ผู้ปกครองระดับ อนุบาล ประถมศึกษาโรงเรียนอนุบาลท่าตะโก จำนวน 274 คน ใช้จำนวนประชากรซึ่งเป็นคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอนุบาลท่าตะโก จำนวน 45 คน และใช้จำนวนประชากรซึ่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลท่าตะโก จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน และ ผู้ปกครอง จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการพัฒนา พบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนมี 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้าน การพัฒนาศักยภาพครู
2. แนวทางในการพัฒนางานวิชาการ คือ โครงการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพครู
3. ผลการพัฒนางานวิชาการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการเรียน การสอน ทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น สามารถจัดทำแผน การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนมีความสุขและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ครูนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อตามกลุ่มสาระที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากการเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ครูสร้างขึ้น
ด้านการพัฒนาศักยภาพครู มีผลทำให้ครูทุกคนมีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือช่วยเหลือกันทางวิชาการ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน มีผลทำให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพสูงขึ้น
4. ความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนาศักยภาพครู อยู่ในระดับมาก (( = 4.27) รองลงมาคือด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก (( = 4.21) และด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.17)