ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ผู้วิจัย นายหงษ์คำ หาบุญมี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการ การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 3) ศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 4) ประเมินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ก่อนนำออกเผยแพร่ต่อไป ประชากร/กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนจำนวน 201 คน ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 141 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .98 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .94 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง มีค่าความเชื่อมั่น .92 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .92 และแบบสอบถามเพื่อการประเมินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิตการบรรยาย
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 พบว่า ครูผู้สอนต้องการให้ผู้บริหารได้สร้างรูปแบบและวิธีการหรือขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า APLECS Model มีองค์ประกอบ จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบทบาทผู้บริหาร (Administrating of Role : A) ด้านการมีส่วนร่วม (Participating : P) ด้านการจัดการเรียนรู้ (Learning : L) ด้านการวัดและประเมินผล (Evaluation : E) และด้านการพัฒนาคุณลักษณะ (Characteristic of Developing : C) โดยรวมผลการประเมินของผู้บริหารโรงเรียนที่พบว่า ทั้งรูปแบบและองค์ประกอบ มีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสูงสุดคือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านบทบาทผู้บริหาร ต่อมาคือ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม กับด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนรู้ กับด้านการพัฒนาคุณลักษณะ และด้านความพอใจ ตามลำดับ
3. การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 2.90 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทุกชั้นเรียน ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.62 5.39 โดยรวมครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกด้านครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสูงสุดคือ ด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ กับด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ลำดับต่อมาคือ ด้านการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ตามลำดับ โดยรวมนักเรียนมีคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก และทุกด้านนักเรียนมีคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก โดยสูงสุดคือ ด้านความพอประมาณ รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ต่อมาคือ ด้านความมีเหตุผล และเงื่อนไขคุณธรรม และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับ และโดยรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียนด้วยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกด้านผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสูงสุดคือ ด้านการบริหารโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วม ต่อมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ตามลำดับ
4. การประเมินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้งรูปแบบและองค์ประกอบ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสูงสุดคือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านบทบาทผู้บริหาร ต่อมาคือ ด้านการมี ส่วนร่วม ด้านความพอใจ ด้านการพัฒนาคุณลักษณะ ด้านการวัดและประเมินผลและด้านการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ สามารถนำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการได้ต่อไป