การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 2562 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 2562 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 2562 จำแนกเป็น 3.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 3.2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 2562 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2561 มีนาคม 2562 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 256 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 265 คน 2) กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 52 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2561 จำนวน 256 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 265 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ 1 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียน รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.973 0.978 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเสร็จสิ้นปีการศึกษา 2561 ช่วงเดือนมีนาคม 2562 และครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.07, S.D. = 0.63) รองลงมาได้แก่กลุ่มครู( µ = 4.02, σ= 0.62) และผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.02, S.D. = 0.69) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ = 3.93, S.D. = 0.70 )
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.67, S.D. = 0.58) รองลงมาได้แก่กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.66, σ= 0.59) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̄ = 4.57, S.D. = 0.71) สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ปกครองและครูต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 โดยภาพรวม พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( µ = 4.10 , σ = 0.56 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( x̄ = 4.01 , S.D. = 0.61 )
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( µ = 4.64 , σ= 0.62 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̄ = 4.57 , S.D. = 0.70 ) สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. คะแนนเฉลี่ย (GPA) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา พบว่า
ปีการศึกษา 2561 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 2.79 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 3.34 รองลงมาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 3.31 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 2.26
ปีการศึกษา 2562 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 2.94 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 3.48 รองลงมาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 3.47 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 2.51 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2560 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 32.06 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.03 โดยรวม คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.40 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นสูงสุด เพิ่มขึ้น 6.91 รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 1.21 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ลดลง 3.47 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 33.46 โดยรวม คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.40 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นสูงสุดเพิ่มขึ้น 6.91รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 1.21 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ลดลง 3.47 ไม่สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 จำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.04, S.D. = 0.57) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.03, S.D. = 0.72) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ เครือข่ายชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( x̄= 3.97, S.D. = 0.60 , 0.61)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.66,σ = 0.59 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D. = 0.59, 0.68 ) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̄ = 4.56, S.D. = 0.71) สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัย การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SIKAO MODEL โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่น ของการเป็นแบบอย่างที่ดีจากปัจจัยสนับสนุน 4 ด้าน ตามกลยุทธ์ SIKAO MODEL ซึ่งเป็นประโยชน์ และแนวทางในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
ข้อเสนอแนะในการนำการวิจัยไปใช้
ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนต้องกำหนดนโยบายและเปาหมายการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ ตามกรอบกิจกรรม และกลยุทธ์ที่กำหนด
ด้านการพัฒนาครู โรงเรียนควรเร่งรัดให้ครูเป็นครูมืออาชีพ (สอนเป็น เห็นผล คนยกย่อง)
ด้านการจัดการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนควรส่งเสริม/เปิดโอกาส ให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติและสอดแทรกคุณลักษณะความเป็นคนดีไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามกลยุทธ์ที่กำหนด