รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้วิธีการประเมินสามลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น ใช้ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 256 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 256 คน ครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 52 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 256 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 256 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 8 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .900-.998 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2561-2562 ของโรงเรียน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences for windows version 18) ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ( µ = 4.09, σ = 0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.97, S.D. = 0.54) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภารวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( µ = 4.64, σ = 0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.66, S.D. = 0.64) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ = 3.94 , σ = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (µ = 3.97 , σ = 0.63) รองลงมาได้แก่ด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก (µ =3.95, σ =0.73) ส่วนด้านความพร้อมของวัสดุ/อุปกรณ์ อาคารสถานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (µ=3.91, σ =0.60)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (µ =4.60, σ = 0.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความความเพียงพอของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65, σ = 0.63) รองลงมาได้แก่ด้านความความเพียงพอของงบประมาณอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.59, σ =0.73) ส่วนด้านความพร้อมความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (µ= 4.56, σ =0.71)
ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (µ = 4.09, σ = 0.61) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่นักเรียน และผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.98, σ = 0.67.) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.68, = σ 0.61) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.70) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่าเห็นว่าความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน( = 4.57, S.D. = 0.70) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( ,µ = 4.06, S.D., σ = 0.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่นักเรียน และผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( ,µ = 4.03, S.D., σ = 0.64,0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( ,µ = 4.66, S.D., σ = 0.61) ได้คะแนนเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่นักเรียนและผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( ,µ = 4.57, S.D., σ = 0.70,0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( ,µ = 4.09, S.D., σ = 0.61) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่นักเรียนความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( ,µ = 4.00, S.D., σ = 0.64) ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( ,µ = 3.99, S.D., σ = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( ,µ = 4.7, S.D., σ = 0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่นักเรียนความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( ,µ = 4.60, S.D., σ = 0.62) ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( ,µ = 3.99, S.D., σ = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่นโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561- 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.64) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.00, S.D. = 0.64) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.68) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.58, S.D. = 0.70) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561 - 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก (µ = 4.07, σ = 0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.57) ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.00, S.D. = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่ครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.66, σ = 0.61) ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.59, S.D. = 0.70) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (µ =4.07, σ = 0.64) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.04,S.D. = 0.61) ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจมีค่าต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.99,S.D. = 0.66) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.69, σ = 0.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.58) ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.57, S.D. = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2561- 2562 จำแนกตามประเด็นตัวชี่วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทุกกล่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15
ด้านปัจจัยของโครงการค่าน้ำหนัก 15 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี่วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15
ด้านกระบวนการของโครงการ ค่าน้ำหนัก 20 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี่วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20
ด้านผลผลิตของโครงการ ค่าน้ำหนัก 50 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี่วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 50
สรุปทั้งสี่ด้านของโครงการค่าน้ำหนัก 100 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี่วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 100
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
โรงเรียนควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนต่อไป
โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
ให้มีการประเมินผลการใช้คุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนมาเป็นเครื่องมือในการวางแผนการจัดการเรียนรู้
ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการต่อไป