บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ปีการศึกษา 2561
ผู้รายงาน นายจารุวัฒน์ วิกรมธีรานันท์
ปีที่พิมพ์ 2562
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานได้แก่ครูผู้สอน จำนวน ๑๘ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน นักเรียนจำนวน ๑๖๕ คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๑๖๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มี ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ฉบับถามครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และถามผู้ปกครอง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ฉบับถามนักเรียน และ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ฉบับถามผู้ปกครอง เครื่องมือทุกฉบับผ่านการทดลองหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่นและอำนาจจำแนก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Scan Tool และ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่ของ Scheffe
ผลการศึกษาพบว่า
๑. การดำเนินการด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ นักเรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ได้รับการสำรวจโดยการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการออกเยี่ยมบ้าน จำนวน 282 คน ได้รับการออกเยี่ยมบ้านโดยครูประจำชั้น คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๒. การประเมินพฤติกรรมนักเรียน โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ประเมินตนเองพบว่า เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ ร้อยละ 97.52 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 2.48 และไม่มีกลุ่ม มีปัญหา การประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยครูประจำชั้น เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ ร้อยละ 93.97 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.03 และไม่มีกลุ่มมีปัญหา และการประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยผู้ปกครอง เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ ร้อยละ 99.29 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 0.71 และไม่มีกลุ่มมีปัญหา
๓. การดำเนินโครงการส่งเสริมนักเรียนที่โรงเรียนดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการค่ายคุณธรรม โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โครงการส่งเสริมสุขภาพและโครงการป้องกันสารเสพติดในสถานศึกษา
๔. การดำเนินกิจกรรมการส่งต่อที่โรงเรียนดำเนินการ ประกอบด้วย การส่งต่อนักเรียน ที่ได้รับอุบัติเหตุการส่งต่อนักเรียนที่เจ็บป่วย การส่งต่อนักเรียนที่ขาดผู้อุปการะและการส่งต่อด้านพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
๕. ความคิดเห็นของคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านการส่งเสริมนักเรียน ตามลำดับ
๖. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ทั้ง ๕ ด้าน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๒
๗. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
๘. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด