รายงานการวิจัย
เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องสมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
_______________________________________________________________________
ความเป็นมา
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบไปด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน เรียนเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย พบว่านักเรียนจำนวน 10 คน ไม่สามารถอธิบายสมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทรายได้ และไม่สามารถระบุชนิดและสมบัติของดินที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ รวมทั้งไม่สามารถเปรียบเทียบส่วนประกอบ ชนิด ขนาดของดินเหนียว ดินร่วน ดินทรายได้ ผู้วิจัยจึงคิดหาแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนและเป็นการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ O-NET อีกทางหนึ่ง
ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อต้องการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน และเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียนสูงขึ้น เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ O-NET โดยการใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคอื่นๆเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาดีขึ้น ในการดำเนินการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการสอนเพิ่มเติมในชั่วโมงวิทยาศาสตร์ กำหนดเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการฝึกทักษะ 2 วัน ใน 1 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบก่อนเรียน และทำการทดสอบหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบฝึกทักษะ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าสถิติร้อยละ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย เพิ่มขึ้น
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ O-NET ของนักเรียนให้สูงขึ้น
สมมุติฐานการวิจัย
หลังจากนำแบบฝึกทักษะ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย มาใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแล้วนักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ O-NET และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดใต้บ้านบ่อ
จำนวน 10 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
1. นักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย เพิ่มขึ้น
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เพิ่มผลสัมฤทธิ์ O-NET รายวิชาวิทยาศาสตร์
3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้อื่นๆ และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นต่อไป
4. สามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อีกทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากตำราเรียน และสามารถแก้ปัญหาการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้
เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 50 เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย
2. แบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 1
3. แบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 2
4. แบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 3
5. แบบทดสอบก่อนเรียน
6. แบบทดสอบหลังเรียน
ระยะเวลาในการวิจัย
เดือนธันวาคม 2562 เดือนมกราคม 2563 (ในชั่วโมงวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์)
วิธีดำเนินการวิจัย
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ CHIT Model มีแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิด คุณลักษณะดังนี้
C = Creativity มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่เกิดประโยชน์
H = Happy มีความสุขกับการเรียน
I = Innovation มีการคิดค้นสิ่งใหม่
T = Technology มีการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ กำหนดเกณฑ์กำหนดการวัดและประเมินผลการฝึกทักษะ
1. ดำเนินการฝึกทักษะตามที่กำหนดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อดูความก้าวหน้า ดังนี้
1.1 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้
1.2 ใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 1 แบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติ
ของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 2 และแบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย 3 จนครบ เพื่อกระตุ้นความคิด และพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนหลังจากการเรียนเนื้อหาควบคู่ไปด้วย
1.3 สังเกตพฤติกรรมพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน
1.4 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความรู้หลังจากได้รับการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบ
ฝึกทักษะครบแล้ว
3. วัดและประเมินผลการฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และบันทึกผลการประเมินดูความก้าวหน้า
4. สอบถามหรือให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และผลงานการฝึกร่วมกัน
5. สรุปผลการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยนำผลการทดสอบก่อนเรียน และผลการทดสอบหลังเรียน ที่ได้มาหาผลต่างของการพัฒนาความแตกต่างด้วยค่าสถิติร้อยละ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และรายงานผล
การรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ดำเนินการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ควบคู่การเรียนกับนักเรียน
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน
2. นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และการทำแบบทดสอบหลังเรียนมาหาผลต่างของการ
พัฒนาความแตกต่างด้วยค่าสถิติร้อยละ
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนที่นักเรียนเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และคะแนนการทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากที่นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย แล้ว มาหาผลการพัฒนาโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน หลังจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะและผู้วิจัยใช้เทคนิคการสอนแบบ Active Learning กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ CHIT Model มีแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิด คุณลักษณะดังนี้
C = Creativity มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่เกิดประโยชน์
H = Happy มีความสุขกับการเรียน
I = Innovation มีการคิดค้นสิ่งใหม่
T = Technology มีการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้
กำหนดเกณฑ์อื่นๆ ที่หลากหลายร่วมด้วย นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ในเรื่อง สมบัติของดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย เพิ่มขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามพัฒนาการและความสามารถการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละบุคคล ดังหลักฐานจากผลวิเคราะห์การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน และคะแนนทดสอบ หลังเรียน หลังจากนักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะแล้ว โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ เป็นดังนี้ ค่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอยู่ที่ร้อยละ 35 และคะแนนทดสอบหลังเรียนอยู่ที่ร้อยละ 82
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะสามารถนำมาปรับใช้ได้กับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆ ได้หลายเรื่อง และในการจัดกิจกรรมการฝึก ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายมีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ อยู่เสมอ ควรใช้สื่อการสอนมาประกอบระหว่างการฝึกทักษะก็จะช่วยให้นักเรียนเข้าเนื้อหาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ครูสามารถให้นักเรียนที่เรียนเก่งช่วยสอนนักเรียนที่เรียนอ่อนร่วมด้วยได้ เพื่อให้เพื่อนที่เรียนเก่งช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อนขณะทำกิจกรรมการฝึกทักษะ เพราะในบางครั้งนักเรียนกล้าที่จะสอบถามกับเพื่อนมากกว่าสอบถามครูในเวลาที่ไม่เข้าใจ และเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนอีกทางหนึ่งด้วย