บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการ
มีงานทำของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 383 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 28 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน 170 คน ใช้การเปิดตารางของ Krejcie and Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และใช้การกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 170 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ตามจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา มี 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา (สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา และครูผู้สอน) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา (สำหรับผู้ปกครอง) และฉบับที่ 3 แบบสอบถามผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา (สำหรับนักเรียน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งได้ผลการประเมินดังนี้
1. ผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.60, S.D = .26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการแก้ไขปัญหา (x ̅ = 4.62, S.D = .37) รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบ (x ̅ = 4.61, S.D = .33) ด้านการวางแผน (x ̅ = 4.59, S.D = .30) และด้านการปฏิบัติตามแผน (x ̅ = 4.58, S.D = .31) ตามลำดับ
2. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา แบ่งตามประเภทของผู้ตอบแบบสอบถาม สรุปได้ดังนี้
2.1 คณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.52, S.D = .27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการตรวจสอบ (x ̅ = 4.65, S.D = .30) รองลงมาคือ ด้านการแก้ไขปัญหา (x ̅ = 4.57, S.D = .37) ด้านการปฏิบัติตามแผน (x ̅ = 4.53, S.D = .38) และด้านการวางแผน (x ̅ = 4.34, S.D = .55) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อคำถามที่คณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 3 ลำดับแรก คือ มีการวิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงาน (x ̅ = 4.87, S.D = .35) มีการรวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (x ̅ = 4.80, S.D = .41) มีการจัดทำข้อมูลสถิติผลการดำเนินงาน (x ̅ = 4.80, S.D = .41) และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน (x ̅ = 4.73, S.D = .46)
2.2 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.64, S.D = .26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผน (x ̅ = 4.75, S.D = .27) รองลงมาคือ ด้านการแก้ไขปัญหา (x ̅ = 4.64, S.D = .36) ด้านการปฏิบัติตามแผน (x ̅ = 4.58, S.D = .30) และด้านการตรวจสอบ (x ̅ = 4.58, S.D = .30) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อคำถามที่ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 3 ลำดับแรก คือ มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน (x ̅ = 5.00, S.D = .00) มีการเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นข้อมูล (x ̅ = 4.89, S.D = .32) มีการประชุมชี้แจงถึงแนวทางในการดำเนินงาน (x ̅ = 4.89, S.D = .32) มีการกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรม (x ̅ = 4.89, S.D = .32) มีการประชุมวางแผน กำหนดนโยบาย โครงการ กิจกรรม ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน (x ̅ = 4.86, S.D = .36) และมีการติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ (x ̅ = 4.86, S.D = .36)
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.65, S.D = .26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผน (x ̅ = 4.67, S.D = .41) รองลงมาคือ ด้านการแก้ไขปัญหา (x ̅ = 4.66, S.D = .33) ด้านการปฏิบัติตามแผน (x ̅ = 4.64, S.D = .30) และด้านการตรวจสอบ (x ̅ = 4.61, S.D = .33) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อคำถามที่นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 3 ลำดับแรก คือ มีการประชุมคณะทำงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน หลังจากดำเนินการแล้ว (x ̅ = 4.88, S.D = .39) มีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานอาชีพ (x ̅ = 4.84, S.D = .40) และมีการสำรวจสภาพปัญหาการดำเนินงานอาชีพของตน (x ̅ = 4.82, S.D = .42)
2.4 ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.67, S.D = .25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อคำถามที่ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 3 ลำดับแรก คือ การสอนอาชีพช่วยให้นักเรียนได้รับโอกาสมีงานทำ
(x ̅ = 4.86, S.D = .40) การสอนอาชีพช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจ และภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เรียน (x ̅ = 4.85, S.D = .39) และการสอนอาชีพทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียน กับสถานประกอบการ (x ̅ = 4.83, S.D = .38)
ข้อเสนอแนะ
1. ควรสร้างจัดทำศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ที่เป็น Best Practice และสนับสนุนงบประมาณตามลักษณะความต้องการเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ และควรมีการยกย่องเชิดชูเกียรติผลการปฏิบัติงานอาชีพที่เป็นเลิศ
2. ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จังหวัดยะลา ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินไปใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไป
3. การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำเป็นจุดเน้นตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โรงเรียนจึงควรมีการประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำให้กับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และเผยแพร่ผลการประเมินการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำให้กับหน่วยงานทางการศึกษาและสถานประกอบการต่าง ๆ