คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคู่มือการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของคู่มือการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
3) เพื่อทดลองใช้คู่มือการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงคู่มือการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา ด้านความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมและความสามารถของนักเรียนด้านทักษะชีวิต โรงเรียนชุมชนมาบอำมฤต และโรงเรียนชุมชนบ้านคุริง มิตรภาพที่ 25
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา 2) แบบตรวจสอบคุณลักษณะนักเรียนด้านทักษะชีวิต สิ่งเสพติดและอบายมุข
3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา 4) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครู 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต 6) แบบสังเกตคุณลักษณะนักเรียนด้านทักษะชีวิต ยาเสพติดและอบายมุข
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาด้านทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และผู้เกี่ยวข้อง ครูผู้สอน มีความต้องการคู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา ทั้งนี้เพราะครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะชีวิต รวมทั้งยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลทักษะชีวิต
3. ผลการพัฒนาคู่มือ ในการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา มีเนื้อหาสาระประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้คู่มือ วัตถุประสงค์ของคู่มือ ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางในการจัดกิจกรรม แบบประเมินตนเองก่อนและหลังการศึกษาคู่มือพร้อมเฉลย แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนด้านการมีทักษะชีวิต และแหล่งข้อมูลอ้างอิง ในส่วนของเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยมีรายละเอียดเพียงพอต่อการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเอื้อต่อการพัฒนาความสามารถของครู
4. ผลการทดลองใช้คู่มือ ผู้ศึกษานำคู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูสอนระดับประถมศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านคุริงมิตรภาพที่ 25 จำนวน 3 คน โรงเรียนชุมชนมาบอำมฤต จำนวน 6 คน พบว่าครูกลุ่มตัวอย่างมีความพอใจและเต็มใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาคู่มือ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ศึกษาได้เชิญครูกลุ่มตัวอย่างมาตกลงทำความเข้าใจ พร้อมแนะนำขั้นตอนการศึกษาคู่มืออย่างละเอียดและเป็นกันเอง และในระหว่างการดำเนินการทดลองใช้คู่มือ ผู้ศึกษาได้ติดตาม เป็นที่ปรึกษาอยู่ทุกระยะ ด้วยกระบวนการในการดำเนินงานส่งผลให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจและสมารถจัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะชีวิต
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขคู่มือ 1) ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา พบว่าครูกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา หลังศึกษาคู่มือสูงกว่าก่อนศึกษาคู่มืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อคู่มือ พบว่าครูที่ทดลองใช้คู่มือมีความเห็นว่าคู่มือทำให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขได้ ซึ่งส่งผลต่อคุณลักษณะนักเรียนด้านทักษะชีวิตด้วยเช่นกัน