การทำเว็บไซต์ และพื้นฐานของระบบเว็บไซต์
ในช่วงแรกๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปรโตคอล Telnet (Port 23) และใช้ FTP (Port 21) เพื่อการแลกเปลี่ยนแปลงส่งไฟล์ ต่อมาในปี ค.ศ.1991 Tim Berners -Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสาร บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่าเว็บเพจ (Webpage) ที่ทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่าไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ซึ่งผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารหนึ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน หรือต่างเครื่องกัน ที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว
เครือข่ายของเอกสารเหล่านี้ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตรู้จักโดยทั่วไปว่า world wide web (www) หรือ Web และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการเว็บเพจ เรียกว่า "เว็บไซต์" (Website)
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header) : จะอยู่บริเวณบนสุดของหน้าเว็บเพจ เป็นส่วนที่แสดงชื่อเว็บไซต์โลโก้ แบนเนอร์โฆษณาลิงค์ สำหรับข้ามไปยังอีกหน้าหนึ่ง
2. ส่วนของเนื้อหา (Page Body) : จะอยู่บริเวณตรงกลางของหน้าเว็บเพจ ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงเนี้อหา รายละเอียด ข้อมูลภายในหน้าเว็บเพจ
3. ส่วนท้ายกระดาษ (Page Footer) : จะอยู่บริเวณด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ ส่วนมากใช้สำหรับลิงค์ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย เช่น ที่อยู่ license ต่างๆ ของเว็บไซต์
รูปแบบของเว็บไซต์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ
1. Static Website : เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และมักจะบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html เหมาะกับเว็บไซต์ ที่มีขนาดเล็กจำนวนหน้าเว็บเพจไม่มาก และเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อย
2. Dynamic Website : เว็บไซต์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง ซึ่งอาจมีระบบหลังบ้านเพื่ออัปเดตข้อมูลส่วน Body
https://www.rmonlineservices.com/portfolio
หลักการออกแบบเว็บไซต์
แนวทางในการออกแบบเว็บไซต์ สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์ และพัฒนาเว็บไซต์ ตลอดจนการเชื่อมโยงเว็บเพจแต่ละหน้าเข้าด้วยกัน
1. การวางแผน : นับว่ามีความสาคัญมากในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้การทำงานในขั้นตอนต่างๆ มีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตั้งเป้าไว้
2. การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ : นับเป็นสิ่งสาคัญอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องการนำเสนอข้อมูลแบบใด มีข้อมูลอะไรบ้าง
3. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย : เพื่อให้การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ได้รับความนิยม เราต้องการทำเว็บไซต์ให้กลุ่มใด ใครเป็นผู้เข้าเข้ามาดู เข้ามาใช้เว็บไซต์
4. การเตรียมข้อมูล : เนื้อหาบนเว็บไซต์หรือข้อมูลต่างๆ บนเว็บเพจ จัดว่าเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และต้องการทราบว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆ
5. การเตรียมสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบเว็บไซต์ : ต้องอาศัยความสามารถต่างๆ เช่น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์ ภาพต่างๆ มัลติมีเดีย การจดทะเบียนโดเมนเนม เป็นต้น
6. การออกแบบหน้าเว็บหลัก (Index.html) : หน้าแรกของเว็บเพจ ถือเป็นหน้าสำหรับต้องรับผู้ชม และเป็นหน้าเริ่มต้นของเว็บไซต์ ตัวอย่างการออกแบบหน้าเว็บหลัก (Index.html)
7. การจัดโครงสร้างข้อมูล : จัดระบบเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ในขั้นตอนต่อไป
https://www.rmonlineservices.com/