นวัตกรรมการบริหาร JEERA Model
JEERA Model คือ
J = Job คือ เข้าใจงาน
E = Enjoy คือ สนุกสนาน คนสำราญ งานสำเร็จ
E = End คือ จบแบบ win win
R = Report คือ รายงาย
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไข/การจัดทำมาตรฐานใหม่
๑. Job (J) คือ เข้าใจงาน ในการดำเนินงานจะต้องมีการศึกษารายละเอียด ขอบข่าย วัตถุประสงค์ เป้าหมายของงาน ทำความเข้าใจงานนั้นๆ ให้ชัดเจนเพื่อ วางแผน (Plan) เลือกคนที่เหมาะสมในงานที่เหมาะสม (put the right man on the right job) ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ (DO) และติดตามตรวจสอบ (Check)
1) การวางแผน (Plan) คือขั้นตอนการวางแผนก่อนที่เริมปฏิบัติงาน กำหนดลำดับความสำคัญของงาน และครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนที่ต้องการลงมือปฏิบัติ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยในขั้นตอนนี้ทุกคนต้องรับทราบและเป็นที่เข้าใจตรงกัน เพราะถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่จะส่งผลช่วยให้การทำงานในขั้นตอนถัดไปเป็นไปด้วยความราบรื่นและถูกต้องตรงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2) การเลือกคนที่เหมาะสมในงานที่เหมาะสม (put the right man on the right job) ผู้บริหารต้องชาญฉลาดในการมองเห็นว่างานชนิดใดเหมาะกับคนประเภทใด โดยดูจากบุคลิกภาพ อุปนิสัย ทักษะ และศักยภาพ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้เลือกคนที่เหมาะสมกับงานมาช่วยทำงาน การวางคนให้เหมาะสมกับงาน ผู้บริหารต้องเรียนรู้ และจัดวางกำลังคนให้เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากเข้าไปศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังกับบุคลากรในแต่ละกลุ่ม และจัดจำแนกว่าองค์กรมีคนทำงานที่มีความสามารถในระดับใดบ้าง และมีอยู่กี่กลุ่ม จากนั้นจึงค่อยจัดวางกำลังคนเหล่านั้น ให้ทำงานในที่ที่เหมาะสม การเสียเวลาศึกษาความสามารถของบุคลากร แต่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ย่อมดีกว่าการปล่อยให้มีคนทำงานจำนวนมาก แต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่คาดหวังไว้ แล้วออกคำสั่งโรงเรียนเพื่อปฏิบัติงาน
3) การปฏิบัติตามแผน (DO) ลงมือทำหรือการปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นระบบและให้มีความต่อเนื่อง โดยในขั้นตอนการปฏิบัตินี้เราควรศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และ ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด รวมถึงในระหว่างการปฏิบัติงานเราควรเก็บข้อมูลที่สำคัญ หรือ ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของงานเอาไว้เพื่อประโยชน์ในการทำงานขั้นตอนต่อไป
4) การตรวจสอบ (Check) ว่าหลังจากนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติจริง (Do) แล้วเราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานที่เราได้กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ เราต้องรู้ว่าจะต้องตรวจสอบอะไรบ้างและบ่อยครั้งแค่ไหน การตรวจสอบการทำงานควรจะมีการจดบันทึกในรูปแบบต่างๆ ไว้ เช่น สมุดบันทึก เอกสารการตรวจสอบ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายในการปรับปรุง และแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไปเพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินการการปรับปรุงแก้ไข (Action)
๒. Enjoy (E) คือ สนุกสนาน คนสำราญ งานสำเร็จ ในการบริหารในหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็กก็ตาม คงไม่สามารถจะทำงานประสบผลสำเร็จได้ถ้าคนในองค์กรไม่ให้ความร่วมมือการบริหาร และการบริหารที่จะได้ทั้งคนและงาน หรือคนสำราญ งานสำเร็จได้นั้น จำต้องบริหารโดยครองใจคนในหน่วยงานให้ได้ ซึ่งจะต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ หรือนำศาสน์ และศีล มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ได้ จะต้อง สามารถครองตน ครองคน และครองงานนั้นเอง หรือที่เรียกว่า เก่งคน เก่งงาน เก่งคิด และครองชีวิตตามหลักคุณธรรม จริยธรรม
๓. End (E) คือ จบแบบ win win ในการทำงานบางครั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะต้องเสียเปรียบได้รับความสำคัญหรือผลประโยชน์มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อดำเนินการตามแผนทั้งหมดแล้ว ทั้งทุกฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์ทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน มีความสำคัญเท่ากัน โดยสร้างทัศนคติที่ดีและต้องการให้ได้ประโยชน์เท่าเทียมกันทุกฝ่ายในระยะยาว ดังนี้
๑) การสร้างความเข้าใจให้ทุกคนในองค์กรมีความคิดเห็นและเข้าใจตรงกัน เหมือนกัน
๒) ลงมือปฏิบัติงาน หรือกระทำร่วมกัน มีความเป็นเจ้าของหรือเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นๆ
๓) ได้รับผลประโยชน์ ผลสำเร็จร่วมกัน มีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ
๔. Report (R) คือ การรายงาน หรือการนำข้อมูลที่ได้จากตาราง/แบบสอบถาม (Table/Query) การปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล มาจัดรูปแบบ พิมพ์รายงานที่ได้ออกมาเป็นรายงานที่สามารถแสดงออกได้ทั้งทางจอภาพ กระดาษพิมพ์ ซึ่งเป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงานนั้นๆ
๕. Action (A) คือ การปรับปรุงแก้ไข หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่ เพื่อให้การดำเนินการครั้งต่อไปเหมาะสม ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ โดยการนำเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการรายงาน (Report) มาวิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาประเมินเพื่อพัฒนาแผนและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นอีกในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อบกพร่องจากกระบวนการทำงานที่ผ่านมา แต่เราก็ควรจะมีวิธีในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานของตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้การดำเนินงานครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม
ใช้นวัตกรรม JEERA Model ดังกล่าวในการขับเคลื่อนงานซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ฝ่ายงาน คือ งานวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป