รายงานการใช้สื่อ
1. ชื่อผลงาน การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้
เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. ชื่อเจ้าของผลงาน : นางสุกัญญา ทิพรักษ์
หน่วยงาน : โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม
สถานที่ ติดต่อ : โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ตำบลโคกก่อ อำเภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม
3. ภูมิหลัง
ปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนควรมีการออกแบบและวางแผนอย่าง รอบคอบจึงเป็นความท้าทายที่ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 (วิจารณ์ พานิช. 2555: 64) กล่าวว่า ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางบรรยายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงให้ผู้เรียนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการทํางานเป็นทีมมีการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาระหว่างศาสตร์ต่างๆเรียนรู้จากการกระทํามีการสะท้อนความคิดของตนเองกับคนอื่นๆ ซึ่งวิธีการ จัดการเรียนรู้ดังกล่าว สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ ในการเรียนรู้โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 17)
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกนั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่ง วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อ การจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) และความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อและความรู้ด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงาน ในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 7C ประกอบด้วย Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
จากข้อมูลข้างต้นผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักถึงปัญหา และความสำคัญดังกล่าว จึงมีแนวความคิดในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ โดยการจัดทำการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียน และพัฒนาผลการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ขอบเขตของการศึกษา
1.1 ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น
1.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่
1.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
1.2.2 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.2.3 ดัชนีประสิทธิของผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.2.4 ความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 รายวิชาเคมี 2 รหัสวิชา ว30222 สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
การทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้าดำเนินการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ระยะเวลาในศึกษาค้นคว้าทั้งหมดจำนวน 18 ชั่วโมง (ไม่รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน)
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนรู้
ประโยชน์เชิงวิชาการ
1. ผู้เรียนมีความรู้เชิงเนื้อหา ความรู้เชิงกระบวนการ จากการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และช่วยส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ ได้แก่ ทักษะการอ่านทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น
2. ครูสามารถพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ส่งเสริมบรรยากาศในห้องเรียนด้วยสื่อและนวัตกรรมที่ทันสมัย ส่งผลให้การเรียนรู้ไม่เบื่อหน่าย
ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ
1. สถานศึกษาเห็นความสำคัญของการจัดทำบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. ครูสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่และการสอน
3. ผลการการศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาขึ้นในวงการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า
ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา 1/2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ พบว่าค่าความยากง่าย(p) อยู่ระหว่าง 0.25 0.67 มีค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.31-0.67 นำข้อสอบที่ได้ทั้ง 40 ข้อ มาหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของโลเวทท์(Lovett) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.01/85.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 69.38
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 21.17 และ 34.23 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.44
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาเคมีเพิ่มเติม 2 มากขึ้น ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณแก่ผู้เรียน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 การเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ครูผู้สอนจึงควรดูแลและควบคุมเวลาการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้ทันเวลาหรืออาจต้องมีการ ยืดหยุ่นเวลาในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสม
1.2 การเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูควรจะเลือกเนื้อหาวิชาที่เด็กเข้าใจยาก ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มาสร้างเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเขียนเรื่องให้มีความเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
1.3 ควรใช้เทคนิคในการนำเสนอ ที่มีความน่าสนใจ เร้าใจ ชวนให้ติดตามใคร่รู้ใคร่ศึกษาต่อไป ไม่บรรจุความรู้และข้อมูลที่อัดแน่นจนเกินไป
2. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
2.1 การจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ดังนั้น ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ควรให้ความสนใจและนำเอากระบวนการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.2 การจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนควรชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ทราบข้อปฏิบัติก่อนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัดก่อนที่จะเริ่มเรียนในแต่ละชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
3.1 ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ รายวิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่แปลกใหม่ เช่น การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบจิ๊กซอ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เพลิดเพลิน และได้ความรู้จากการเรียนโดยการศึกษาด้วยตนเอง
3.2 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และนักเรียนที่เรียนโดยเทคนิควิธีอื่นๆ หรือใช้สื่อนวัตกรรมประเภทอื่นๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร