บทนำ
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่คณะกรรมการห้องสมุดประเทศไทย เมื่อ 12 กรกฎาคม 2514 ความว่า
หนังสือไม่ใช่เก็บไว้ในตู้ให้พยายามส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือยิ่งขึ้น... หมายถึงว่าการส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านหนังสือมีความสำคัญมาก (หรรษ นิลวิเชียร. 2535 : 100-101) จุดประสงค์เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น ซึ่งครูต้องหาวิธีการอ่านที่ถูกวิธีจึงจะเกิดผลในระยะยาว ถ้านักเรียนอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เป็น และรวมทั้งไม่มีนิสัยรักการอ่านก็จะไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนทุกวิชา ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วยการเริ่มต้นอ่านจึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการดำรงชีวิตในสถานศึกษาที่สามารถแบ่งบอกถึงอนาคตที่ควรจะเป็นต่อไปได้ (รัชดา ชุติพานิชเทศก์. 2543 : 1) ยิ่งอ่านมาก ยิ่งรู้มาก เกิดแรงบันดาลใจและทัศนคติที่เหมาะสม เกิดความคิดสร้างสรรค์อันก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดคุณธรรม เกิดความชื่นชมในความรู้ที่ได้จากการอ่านอันเป็นเหตุให้เกิดนิสัยรักการอ่านได้(วรากรณ์ สามโกเศศ,2554)ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันของเด็กมากขึ้น การเข้าถึงองค์ความรู้ก็ง่ายขึ้น เด็กเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายสังคม(Social Network) เด็กสามารถเปิดบราวเซอร์เพื่อใช้งานได้ครั้งละหลายช่องทาง มีทั้งช่องทางที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความบันเทิงต่างๆ (ยืน ภู่วรวรรณ,2553)
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง การส่งเสริมนิสัยการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยา วิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการจะทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นทิศทางในการกำหนดนโยบาย และแนวทางในการส่งเสริมนิสัยการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยา ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนศิริเกษวิทยาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาเรื่อง การส่งเสริมนิสัยการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากร
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนศิริเกษวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 440 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามของนักเรียนโรงเรียนศิริเกษวิทยาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการส่งเสริมรักการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการแบ่งเป็น 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและประโยชน์ของกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสําหรับนักเรียนโรงเรียนศิริเกษวิทยา จำนวน 19 ข้อ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจำนวน 30 ข้อ และ 3) เพื่อประเมินผลสงเสริมนิสัยรักการอานจำนวน 10 ข้อ รวม 59 ข้อ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประมาณค่ามี 5 ระดับ ได้แก่มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ดังนี้
5 หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
3 หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
1 หมายถึง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาทฤษฏี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบการส่งเสริมรักการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
2. นำข้อมูลมาวิเคราะเนื้อหา กำหนดกรอบแนวคิดเรื่อง การส่งเสริมรักการอ่านของโรงเรียนศิริเกษวิทยาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
3. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุง เที่ยงตรงของเนื้อหาของแต่ละข้อคำถาม โดยได้ค่า IOC เท่ากับ 0.66-1.00
4. ทำการปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเป็นฉบับสมบูรณ์
5. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นไปใช้