ความเป็นมาของงานวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนหญิงที่มาเรียนชุมนุมนาฏศิลป์มี 3 ลักษณะ คือเรียนเพราะมีใจรักการแสดง เรียนเพราะตามเพื่อน เรียนเพราะเลือกวิชาอื่นไม่ทัน เมื่อนักเรียนได้เรียนได้ฝึกนาฏศิลป์ปัญหาที่พบกับนักเรียนบางคนมีการพัฒนาบ้างเล็กน้อย กับกลุ่มที่มีการพัฒนาแบบต่อเนื่องตามลำดับ แต่การฝึกนาฏศิลป์ควรจะเริ่มฝึกตั้งแต่ยังเล็กๆ และควรเริ่มจากการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกที่จะเรียนตามความพึงพอใจ โดยนักเรียนที่เลือกจากความรู้สึกอยากเรียนอาจจะมีผลสัมฤทธิ์ไปในทางที่ดีขึ้นและพัฒนาตนเองได้มากกว่า ผู้ทำการวิจัยจึงใช้เพลงเซิ้งกระติ๊บ มาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจถึงความพึงพอใจที่นักเรียนมีกับการเรียนนาฏศิลป์ และเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยสร้างชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
2. เพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเรียนกิจกรรมนาฏศิลป์ ก่อนและหลังการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ
กิจกรรมนาฏศิลป์
3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
สมมติฐานของงานวิจัย
1. นักเรียนมีความสามารถในการทำกิจกรรมนาฏศิลป์ เรื่อง เซิ้งกระติ๊บ และความรู้นาฏศิลป์ไทยพื้นฐาน
2. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชานาฏศิลป์
3. นักเรียนมีแนวทางเพื่อพัฒนาทักษะ มีสมาธิ ความอดทนและความคิดสร้างสรรค์
วิธีดำเนินการวิจัย
- ครูเปิด VDO CD การแสดงรำเซิ้งกระติ๊บ และสังเกตความสนใจต่อการดูการแสดง
พร้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนสมัครเรียนนาฏศิลป์
- ครูให้นักเรียนฝึกปฏิบัติท่ารำไปกับเครื่อง VDO CD ในเพลง รำเซิ้งกระติ๊บ
- ครูให้นักเรียนฝึกปฏิบัติท่ารำร่วมกับเครื่องบันทึกเสียง ในเพลง รำเซิ้งกระติ๊บ
- ครูสอบถามถึงความสนใจในการเลือกสื่อที่จะใช้ประกอบการฝึกการแสดง
- ครูสังเกตการปฏิบัตินาฏศิลป์จากการใช้เครื่อง VDO CD
- ครูสังเกตการปฏิบัตินาฏศิลป์จากการใช้เครื่องบันทึกเสียง
- ครูให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำเป็นรายบุคคล แล้วแนะนำสิ่งที่ควรพัฒนาเพื่อนำมาประยุกต์ต่อการประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
- แบบสังเกตพฤติกรรม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 - เดือนมีนาคม 2562
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 มีนาคม 2562
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเริ่มตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัตินาฏศิลป์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. พิจารณาจากการสังเกตถึงความสนใจของนักเรียน เปิดโอกาสและเสริมแรงจูงใจที่ดีให้กับนักเรียน
2. วิเคราะห์จากแบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมนาฏศิลป์ ผลปรากฏว่านักเรียนมีความสนใจต่อการดูตัวอย่างจาก VDO CD เครื่องบันทึกเสียง มากกว่าการฝึกปฏิบัติจากการต่อท่ารำจากครูอย่างเดียว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์การผ่านวัตถุประสงค์รายข้อ ภายหลังการเรียนการสอนตามแผนการสอนปกติ โดยการหาค่าร้อยละ
2. หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
3. เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียน โดยนำผลการทดสอบก่อนและหลังการสอนเสริมโดยใช้ชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
4. วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อการสอนซ่อมเสริม โดยใช้ชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์
สรุปผลการวิจัย
1. คะแนนภาคปฏิบัติ เรื่อง รำเซิ้งกระติ๊บ และความรู้นาฏศิลป์ไทยพื้นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน
4. คะแนนภาคปฏิบัติ เรื่อง การปฏิบัติท่ารำเซิ้งกระติ๊บ ก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่าง
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนเสริม โดยใช้ชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์ ปรากฏดังนี้
3.1 สิ่งที่นักเรียนชอบมากที่สุด คือ เพราะสอน VDO CD เป็นขั้นตอน เห็นภาพเคลื่อนไหว และเข้าใจง่าย ถ้าปฏิบัติตามไม่ทันก็สามารถย้อนภาพกลับไปดูใหม่ได้ นอกจากนี้นักเรียนยังชอบเอกสารประกอบภาพ เพราะมีรูปภาพมาก อ่านแล้วเข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติตามได้ รวมทั้งชอบแถบบันทึกเสียง เพราะสอนเป็นขั้นตอน ฟังแล้วเข้าใจ และ สามารถปฏิบัติตามได้
3.2 นักเรียนไม่มีสิ่งที่ไม่ชอบ ในชุดฝึกทักษะ กิจกรรมนาฏศิลป์ จำนวน 6 คน แต่มีจำนวน 1 คนไม่ชอบแถบบันทึกเสียง เพราะมีแต่เสียงไม่มีภาพ และปฏิบัติตามไม่ค่อยได้ และไม่ชอบเอกสารประกอบภาพ เพราะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่าน นอกจากนี้รูปภาพในชุดฝึกฯ ที่ถ่ายเอกสาร เป็นสีขาว-ดำ ไม่น่าสนใจ
3.3 ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการเรียนซ่อมเสริม โดยใช้ชุดฝึกทักษะกิจกรรมนาฏศิลป์ พอสรุปได้คือ นักเรียนส่วนใหญ่ชอบวิธีการเรียนในรูปแบบนี้ เพราะ มีความสุขและเป็นอิสระ มีความมั่นใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ได้ หรือไม่ทัน ก็สามารถศึกษาใหม่ได้ โดยไม่ต้องเกรงใจครู จนสามารถเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติได้ ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย มีความต้องการที่จะเรียนแบบนี้ตลอด อีกทั้งเพื่อน ๆ ที่เรียนร่วมกัน เป็นนักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับเดียวกัน มีจำนวนน้อย มีครูเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ จึงมีความรู้สึกใกล้ชิดครูผู้สอนมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. นักเรียนที่ได้รับการเรียนชุมนุมมีช่วงความสนใจสั้น จึงควรแนะนำให้นักเรียนพัก และผ่อนคลาย ขณะเดียวกันต้องสร้างกำลังใจ ให้การเสริมแรง เพื่อที่จะได้มีกำลังใจในการเรียนรู้ต่อไป
2. นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการปฏิบัติท่ารำตามผู้สาธิตมากกว่าจะฟังคำบรรยาย การศึกษาจากภาพเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากและดูสับสน ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนควรแนะนำให้นักเรียนฟังเสียงผู้สาธิตและปฏิบัติตาม หรืออ่านคำบรรยาย มากกว่าที่จะดูภาพเพียงอย่างเดียว