สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับโรงเรียนในสังกัด โดยมีกระบวนการขับเคลื่อน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 G - Goal กำหนดนโยบาย ขั้นตอนที่ 2 D - Design ออกแบบการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 3 T - Team ดำเนินงานเป็นทีม ขั้นตอนที่ 4 E - Evaluate ประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 5 S - Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 6 E - Excellent นำพาสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 G - Goal กำหนดนโยบาย
เป็นการกำหนดนโยบาย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หรือจากการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สรุปเป็นประเด็นที่จะดำเนินการพัฒนา แล้วนำมา กำหนดนโยบายการพัฒนาร่วมกัน เกี่ยวกับนโยบายพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ขั้นตอนที่ 2 D - Design ออกแบบการดำเนินงาน
เป็นการดำเนินงานให้ความรู้ความเข้าใจและแนวทางการดำเนินงาน ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับ การทบทวนความรู้ความเข้าใจและร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียน การสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มทักษะการสังเกตพฤติกรรมรวมทั้งการสร้างความตระหนักรับรู้ และความสำคัญในบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานขับเคลื่อนเพื่อการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นตอนที่ 3 T - Team ดำเนินงานเป็นทีม
ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการสร้างและแต่งตั้งทีมงานขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้แต่งตั้งคณะทีมงานเครือข่ายพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน และระดับโรงเรียนที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน มีรายละเอียดดังนี้
1. ทีมงานขับเคลื่อนระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนครูผู้สอน ร่วมเป็นทีมดำเนินงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. ทีมงานกำกับ ติดตาม และนิเทศให้ความช่วยเหลือระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ทุกคน จำนวน 5 ทีม แยกตามพื้นที่อำเภอ จำนวน 5 อำเภอ
3. ทีมงานติดตาม ชี้แนะ และให้ความช่วยเหลือ ระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอ 5 อำเภอ
ขั้นตอนที่ 4 E - Evaluate ประเมินผลการดำเนินงาน
เป็นขั้นตอน การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเป้าไปสู่การยกระดับการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งการเสริมแรง เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ กำกับ ติดตาม นิเทศและให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นกัลยาณมิตร มีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้บริหารโรงเรียนรับนโยบายจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 นำสู่การปฏิบัติ โดยประสานความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ชุมชน ในการพัฒนาการงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
2. ผู้บริหารโรงเรียน และ/หรือคณะทีมนิเทศภายใน ดำเนินการนิเทศ ติดตาม เยี่ยมเยียนให้กำลังใจและชี้แนะแนวทาง รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินตนเองระหว่างดำเนินงาน
3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. ทีมนิเทศระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอ ดำเนินการติดตาม เสริมแรง ให้กำลังใจ และเติมเต็มต่อยอดการพัฒนาการดำเนินงานให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ดำเนินการกำกับ ติดตาม และนิเทศให้ความช่วยเหลือ โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พร้อมด้วยทีมนิเทศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ทีม ตามจำนวนพื้นที่อำเภอ
ขั้นตอนที่ 5 S - Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เป็นการขั้นตอน ทบทวนผลการดำเนินงาน ประเมินระหว่างดำเนินงาน ปรับปรุงพัฒนาระหว่างดำเนินงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนร่วมกันตรวจสอบและประเมินตนเอง จากนั้นจึงประเมินโดยบุคลากรภายนอก ได้แก่ ทีมศึกษานิเทศก์ มีรายละเอียดดังนี้
1. โรงเรียนแต่งตั้งคณะทีมงานและดำเนินการประเมินตนเอง ร่วมกันทบทวน ตรวจสอบผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. จัดประชุมทบทวนการรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นตอนที่ 6 E - Excellent นำพาสู่ความเป็นเลิศ
เป็นการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ มอบโล่รางวัล ประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน เป็นการสะท้อนกิจกรรมการพัฒนาระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีรายละเอียดดังนี้
1. ประเมินผลการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 แต่งตั้งคณะทีมงานประเมินผลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ศึกษานิเทศก์ และตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน
2. ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้กับโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมขวัญกำลังใจให้แก่โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่มีผลงานเชิงประจักษ์
3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมด้านดำเนินงานด้านระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้
3.1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กวัยเรียน สำหรับประธานสภานักเรียนเพื่อ การดูแลช่วยเหลือเพื่อนนักเรียน
3.2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน และนำเสนอผลงานที่มีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สรุปกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้ดังนี้
นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้จัดทำคู่มือเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และตอบสนองความต้องการพัฒนาดูแลช่วยเหลือของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยได้รวบรวมความคิดเห็นและข้อสรุปจากผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาศึกษา วิเคราะห์ เรียบเรียง และจัดทำเป็นคู่มือการขับเคลื่อนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพร้อมยกตัวอย่างประกอบและมีแบบฟอร์มในการจัดทำตลอดจนคำอธิบายการกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้ โดยมีเนื้อหา สาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 4 บท และภาคผนวก ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขอบข่ายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประโยชน์ของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์ความสำเร็จในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแนวคิดทฤษฎีความพึงพอใจ
บทที่ 3 แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย การออกแบบแผนดำเนินงาน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และการกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
บทที่ 4 แนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ประกอบด้วย บทนำ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาและการส่งต่อ
ภาคผนวก ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ และเอกสารอ้างอิงที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอน ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลจากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ที่มีกระบวนการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน มีแผนงาน โครงการ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบ ส่งผลนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 อย่างเห็นได้ชัด ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
1.1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้ กลุ่มปกติ คิดเป็นร้อยละ 98.59 กลุ่มเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 94.31 กลุ่มมีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 95.97 กลุ่มพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 94.31 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียน 22,810 คน คิดเป็นร้อยละ 98.31
1.2 จำนวนโรงเรียนที่มีการบริการงานแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ มีผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมจำนวนโรงเรียนที่มีการบริการงานแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 95.43
นอกจากนี้ จากการสังเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ได้วางแผนพัฒนาต่อยอดโดยจัดทำแผนงานการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนให้ชัดเจนขึ้น พัฒนากิจกรรมดีเด่นส่งเสริมการดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นนวัตกรรมของโรงเรียน มีเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน และจัดทำแผนงานและปฏิทินกำกับ ติดตาม นิเทศให้ความช่วยเหลือภายในโรงเรียนให้ต่อเนื่อง ส่งผลต่อ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เกี่ยวกับผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เห็นว่ากระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
จากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ส่งผลให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือใน
การขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน และครูได้รับองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาผลงานเชิงประจักษ์ ได้แนวคิด แนวทางในการดำเนินกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งยังเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่นำไปพัฒนางานการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามประเภทการคัดกรอง ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ โดยจากการศึกษาความพึงพอใจของชุมชนของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ พบว่าชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
4. ผลการศึกษาผลลัพธ์ (Outcome) ข้อค้นพบ และปัจจัยความสำเร็จ ที่ได้จากการดำเนิน การขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติที่ดี เชิงประจักษ์ พบว่า
4.1 ผลลัพธ์ (Outcome) สรุปได้ดังนี้
4.1.1 นักเรียน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาอย่างมีระบบโดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูประจำชั้น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปลอดภัยจากสารติด ได้นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนในการศึกษารายกรณี และเห็นได้จากรางวัลที่นักเรียนได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัล เด็กและเยาวชนดีเด่น เด็กได้รับรางวัลต่าง ๆ 35 รางวัล เป็นต้น
4.1.2 ผู้บริหารโรงเรียน ครูทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจหลัก การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจนประสบความสำเร็จ ซึ่งครูที่มีผลงานการปฏิบัติงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และเห็นได้จากรางวัลที่ครูได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัล ครูดีไม่มีอบายมุข รางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับเพชร รางวัลคนดีศรีเชียงใหม่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูได้รับรางวัลต่าง ๆ 38 รางวัล เป็นต้น
4.1.3 โรงเรียนมีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และปลอดภัย และเห็นได้จากรางวัลที่ครูได้รับประเภทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตตรวจราชการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังเช่น รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) รางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับเพชร สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนได้รับรางวัลต่าง ๆ 8 รางวัล เป็นต้น
4.1.4 ชุมชนให้ความศรัทธา เห็นความสำคัญของการศึกษา ให้ความร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพเข้าเรียนด้วยความเต็มใจ อาทิ
1) ชุมชนเข้ามาใช้อาคาร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนใน
การจัดกิจกรรมร่วมกัน
2) ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการจัดการศึกษาของโรงเรียน ส่งผลให้จำนวนนักเรียนของโรงเรียนมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
3) ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
4) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น การเข้ามาเป็นวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้
5) ชุมชนมีความเชื่อมั่นในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
6) ชุมชน ผู้ปกครอง ได้รับรู้ รับทราบถึงกระบวนการทำงานการจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จนเกิดความเชื่อมั่น รักและศรัทธาในโรงเรียนของตนเอง อาทิ การส่งเสริมนักเรียนในชุมชน ด้านการมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ในการดูแลรักษาความสะอาด ความสงบเรียบร้อยในชุมชนโดยไม่ทำตนให้เป็นปัญหาต่อชุมชนในด้านการประพฤติปฏิบัติตนที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน การไม่ไปข้องเกี่ยวกับปัญหาด้านยาเสพติดและสิ่งอบายมุข รวมถึงปฏิบัติตนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ภูมิคุ้มกัน สู่คนในครอบครัว
4.2 ข้อค้นพบที่ได้จากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ ดังนี้
ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดำเนิน การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน โดยมีภาคีเครือข่าย เครือข่ายสหวิชาชีพภายในโรงเรียน ได้แก่ ครูอนามัย ครูฝ่ายปกครอง สภานักเรียน นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ทำหน้าที่ประสาน และให้ความร่วมมือกับครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว มีคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และกรรมการสถานศึกษา ซึ่งได้จัดประชุมปรึกษาหารือ วางแผนพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้พัฒนายิ่งขึ้นไป โดยจัดประชุมเป็นประจำและต่อเนื่องอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง มีเครือข่ายผู้ปกครองชั้นเรียนที่ได้จากการประชุมชั้นเรียนเป็นคณะทำงานสอดส่องดูแล พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน และประสานไปยังผู้ปกครองของนักเรียนคนนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มีการส่งต่อนักเรียนที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาอย่างเป็นระบบ เครือข่ายภายนอกโรงเรียน ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน ได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ให้ความช่วยเหลือด้านการส่งต่อเบื้องต้นในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลให้บริการด้านสุขภาพอนามัย เช่น การตรวจสุขภาพปากและฟัน การฉีดวัคซีน กิจกรรมชวนพ่องดเหล้า และกิจกรรมท้องไม่พร้อม ชมรมครูแนะแนว จัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอบรม ครูแนะแนวอย่างต่อเนื่อง มีการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตแก่โรงพยาบาลสวนปรุง คณะพยาบาลศาสตร์ จัดกิจกรรมฉันพร้อมจะเติบใหญ่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยปากและฟัน และกิจกรรมสานฝันแม่ค้าน้อย และโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ เรื่องเพศศึกษา จัดกิจกรรมการเลือกซื้ออาหารและยาอย่างปลอดภัย จัดกิจกรรมความรู้เกี่ยวกับ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สถานีตำรวจภูธรจัดกิจกรรมการสอนเรื่องยาเสพติด โดย ครู DARE และกิจกรรมสถานศึกษาร่วมใจสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน มีการส่งต่อภายในแก่ครูอนามัย ครูแนะแนว หรือภายนอก ได้แก่ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา แพทย์ พร้อมมีข้อมูล ผลการช่วยเหลือเบื้องต้น ส่งต่อภายนอกให้ผู้เชี่ยวชาญ ติดตามประเมินผลการส่งต่อภายนอก และรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยผลที่ได้รับจากการประสานความร่วมมือจาก ภาคเครือข่ายคือนักเรียนได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมทักษะชีวิตสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพจึงส่งผลให้ระบบการดูแลช่วยเหลือมีผลการปฏิบัติ ที่ดีเชิงประจักษ์ (Good Practice)
4.3 ปัจจัยความสำเร็จจากการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ดังนี้
ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูและชุมชน มีทัศนคติที่ดีต่องานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งมีการพัฒนาครู ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสามารถดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยโรงเรียนมีโครงการและหลักสูตรพัฒนาความเข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยในการอบรมแต่ละครั้งผู้ที่ได้เข้าร่วมอบรมได้นำความรู้มาขยายผล โดยการจัดประชุมอบรมครูในโรงเรียนทุกครั้ง มีการประชุมคณะครูเพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ทีมนำ ทีมทำทีมประสาน และนำผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมาสรุปและร่วมอภิปรายร่วมกันเพื่อหาทางพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นไป อีกทั้งคณะครูเป็นทีมทำที่มีทัศนคติที่ดีมีความรู้ความเข้าใจใน
การปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ มีวินัย คุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติงานด้วยความรักความเมตตาต่อศิษย์ ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างดีและต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูหลายท่านได้รับรางวัลดีเด่นมากมาย อาทิ รางวัลครูผู้ฝึกสอนกิจกรรมเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ระดับประเทศ ระดับภาคเหนือ ระดับเขตพื้นที่และระดับโรงเรียนได้รับรางวัลเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นประจำต่อเนื่องมาโดยตลอด และรางวัลเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนานักเรียนอีกมากมาย จึงส่งผลให้ระบบดูแลช่วยเหลือมีผลการปฏิบัติที่ดีเชิงประจักษ์ (Good Practice)