บทสรุปสำหรับผู้รายงาน
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการชุมชนสัมพันธ์ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นายศรีภูมิ ชาญเดช
ผู้อำนวยการโรงเรียนผังปาล์ม 2
ปีที่รายงาน 2563
ระยะเวลาการประเมิน : ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 30 มีนาคม 2563
รายงานผลการประเมินโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ ผลผลิต และความพึงพอใจต่อโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 การประเมินใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) กลุ่มประชากรประกอบด้วย ครู จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 159 คน และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 จำนวน 256 คนรวมทั้งสิ้น 463 คน เลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 239 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 18 คน (ไม่รวมครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษและวิทยากรท้องถิ่นเนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมทุกกิจกรรมที่โรงเรียนจัด) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู) ผู้ปกครอง จำนวน 109 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 105 คน (เนื่องจากนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ยังขาดทักษะการอ่านแบบสอบถาม) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.901 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.856 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.831 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.822 5) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อโครงการใน 5 กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.897 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินสภาวะแวดล้อมโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.59, S.D. = .61) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51, S.D. = .63) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.60, S.D. = .58) รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.55, S.D. = .54) ทั้ง 2 กลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินกระบวนการของโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D. = .57) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.57, S.D. = .62) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = .66) ทั้ง 3 กลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินผลผลิตของโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.62, S.D. = .56) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.58, S.D. = .62) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D. = .66) ทั้ง 4 กลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการชุมชนสัมพันธ์ ของโรงเรียนผังปาล์ม 2 ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.63, S.D. = .52) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.59, S.D. = .60) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.54, S.D. = .65) ทั้ง 4 กลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน