ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL
เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางมณีวรรณ จันทะโข
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนข่าวิทยา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับและอนุกรม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าร้อยละ (P)
ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พิจารณาหาค่าความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.54/85.89
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ KWDL เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.34 , S.D. = 0.68)