ความสำคัญของปัญหา
เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนรู้ทางด้านพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยมีปัญหาและข้อขัดแย้ง ต่าง ๆ มากมาย ทั้งในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎี และนวัตกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงความคาดหวังของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่ต้องการให้เด็กปฐมวัยอ่านออกเขียนได้ จึงเป็นตัวเร่งรัดให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา อีกทั้งเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ ซึ่งเป็นชนเขาเผ่าม้ง 100% ภาษาม้งถือเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ดังนั้นภาษาไทยจึงถือเป็นภาษาที่ 2 ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างภาษาและการสื่อสารของเด็กกับครูที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน เป็นปัญหาที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การจัดการศึกษาปฐมวัยถือเป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ดังเช่นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและองค์กรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย (2552) ได้กำหนดสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี แบ่งออกเป็น 7 ด้าน กำหนดสมรรถนะของเด็กปฐมวัยที่ได้ศึกษาทำการค้นคว้าวิจัยจากต่างประเทศที่เพิ่ม มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างครอบคลุมและสมรรถนะที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนคือ ส่วนหลักที่ 5 พัฒนาการทางด้านภาษา (Language Development) การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างไปจากวิธีการเรียนรู้ภาษาของผู้ใหญ่เนื่องจากระดับวุฒิภาวะทางสติปัญญาของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กยังไม่สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ไม่สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางภาษาได้อย่างเต็มที่ ความสามารถเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเนื่องจากภาษามีคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม จึงต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษแทนความหมาย ซึ่งเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากการได้ยินได้ฟังการพูดของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือจากการดำรงชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้าน จากนั้นเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษาเด็กจะเรียนรู้จากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากผู้อื่นก่อนและจะสะสมคำแล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ด้วยการนำคำที่สะสมไว้มาผสมผสานกันเพื่อเปล่งเสียงออกมา พัฒนาการต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเพิ่มคำเรื่อย ๆ และผูกเป็นประโยคตามขั้นตอนหรือพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก อย่างไรก็ตามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาเป็นไปตามพัฒนาการ พ่อแม่ ครูผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็กประกอบกับการแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดสอดคล้องกับแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) มีความเป็นมาเช่นเดียวกัน ในต่างประเทศคือ จากความต้องการที่จะแก้ปัญหาของการสอนภาษาแบบปกติหรือแบบเก่าที่เน้นการแจกลูกสะกด-คำ จนกระทั่งทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะในระดับอนุบาล เด็กได้รับความกดดันเกิดความเครียด นักวิชาการศึกษาปฐมวัยกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันศึกษาทฤษฎีหลักการและผลงานวิจัย ตลอดจนการศึกษาดูงานในต่างประเทศ และในปีพ.ศ. 2538 2539 มูลนิธิชมรมไทยอิสราเอล ได้เชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาอบรมเชิงปฏิบัติการเวลาติดต่อกันหลายปีทำให้มีผู้สนใจนำไปใช้ในวงกว้างกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มีแนวความคิดที่เชื่อว่าเด็กเกิดมาพร้อมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาได้จากสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ชีวิตประจำวัน การเลียนแบบ ไม่เน้นให้เด็กต้องท่องตัวอักษรได้ ไม่เน้นการท่องจำเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ตามการเรียนการสอนทั่วไป เด็กไม่ต้องฝึกทักษะตามขั้นตอน เช่น ต้องเขียนได้ก่อน แล้วถึงจะเรียนการอ่าน แต่จะพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อมๆ กัน นั่นเอง นอกจากนี้เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ก็มีส่วนช่วยในการสนับสนุนแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 1 ประกอบไปด้วยคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ทักษะฟัง-พูด, บัญชีคำศัพท์พื้นฐานปฐมวัยและกิจกรรมสมดุลภาษา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนพื้นที่สูง ดังนั้นครูผู้สอนจึงได้นำเล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) ที่ได้ผ่านกระบวนการPLCในระดับปฐมวัยมาบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย (Language Development) โรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ
ตัวแปรที่จะศึกษา
ตัวแปรต้น
กิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language)
ตัวแปรตาม
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย (Language Development)
วิธีที่ใช้แก้ปัญหา
การจัดกิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language)
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบตอบโดยการวาดภาพวัดทักษะทางภาษา ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเสนอตามลำดับขั้นดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของแบบทดสอบโดยการวาดภาพวัดทักษะทางภาษา ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนทดสอบทักษะทางภาษาของนักเรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังจากการเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังนี้
สถิติพื้นฐานที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยใช้สูตร ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2555 : 128)
เมื่อ แทน ผลรวมของข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
N แทน จำนวนข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
2.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 103)
S.D.=√((N∑_x▒〖2-(∑_x▒2) 〗)/N(N-1) )
เมื่อ S.D. หมายถึง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X หมายถึง คะแนนแต่ละตัว
∑▒x หมายถึง ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ / (นำมาใช้แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน)
เด็กมีการเรียนรู้ภาษาอย่างมีความหมาย ทั้งภาษาไทย ภาษาม้งและยังมีภาษาอังกฤษเข้ามาบุรณาการอีกด้วย สามารถพัฒนาทักษะภาษา ในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนผ่านกระบวนการคิด การวางแผนและการทำงาน ซึ่งเด็กได้เลือกเรียนรู้เองภายใต้ขอบเขตของเนื้อหา และรูปแบบการเรียนรู้ที่ครูวางไว้ให้ครูได้ทำหน้าที่เป็นกลไกที่จะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้ จนเด็กเกิดแรงบันดาลใจที่ จะอยากทำ โดยครูไม่ต้องกระตุ้น
แผนปฏิบัติการวิจัย
กิจกรรม ระยะเวลา
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
2. ศึกษาแนวคิด / นวัตกรรมในการพัฒนา
3. เขียนโครงการวิจัย
4. ออกแบบ / สร้างนวัตกรรรม
5. สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
6. ใชันวัตกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้
7. เก็บรวบรวมข้อมูล
8. เขียนรายงานการวิจัย / ส่ง วิจัยในชั้นเรียน
ผลการวิจัยในชั้นเรียน
ตาราง ผลการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language)
N คะแนนก่อนเรียน (10) คะแนนหลังเรียน (10) ผลต่าง
5 10 5
4 8 4
4 8 4
5 8 3
4 10 6
6 10 4
6 8 2
5 10 5
4 10 6
4 8 4
4 8 4
5 10 5
6 10 4
3 8 5
5 10 5
5 8 3
5 10 5
6 10 4
5 10 5
4 8 4
ค่าเฉลี่ย 4.8 9.1 4.4
จากตาราง พบว่า คะแนนทักษะทางภาษา หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางภาษา หลังการจัดกิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เท่ากับ 9.1 คะแนน ซึ่งสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางภาษา ก่อนการจัดกิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เท่ากับ 4.8 คะแนน และมีความต่างของคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การกิจกรรมการสอนภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เท่ากับ 4.4