ชื่อเรื่อง : รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางนันทวรรณ นิลวรรณา
ระยะเวลาดำเนินการ : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยตามแนวคิด ของ พิซซินี่ เชพพาร์ด และเอเบล (Pizzini ; Shepardson ; & Abell. 1989 : 523-532) ร่วมกับกรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบรนส์ฟอร์ด และสเตน (Brans Ford and Stein); ไดรเวอร์ และเบล (Driver and Bell อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี 2552 : 79) ; จอยซ์ และเวล (Joyce and Weil 2009 : 101) ประยุกต์ร่วมกับกรอบการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบนเขาแก่งเรียง จำนวน 23 คน ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ การวิจัย เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใช้ระยะเวลาในการทดลองเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 16 ชั่งโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่เป็นแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า PLOAES Model โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริม การเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งที่สนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 P: Preparing and Motivation เป็นขั้นเตรียมความพร้อม และกระตุ้นแรงจูงใจในการเรียน ขั้นตอนที่ 2 L: Learning Thinking by Practice เรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 O : Organizing of Knowledge เป็นขั้นจัดระเบียบความรู้ ขั้นตอนที่ 4 A : Applying Thinking Process เป็นขั้นการประยุกต์ใช้กระบวนการคิด ขั้นตอนที่ 5 E :Evaluating เป็นขั้นตอนการประเมินผลการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 6 S : Share เป็นขั้นของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการแก้ปัญหา ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกัน (IOC : 0.98) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบนเขาแก่งเรียง จำนวน 23 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 80.60/81.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทั้ง 3 ด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด