ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยในการอ่านและการเขียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
ผู้วิจัย นายประมูล สุวรรณมาโจ
ตำแหน่ง ครู
โรงเรียน โรงเรียนบ้านคำเตย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
ปีที่ศึกษา ๒๕๖๒
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่านักเรียนยังมีปัญหาด้านการอ่านการเขียนและการสะกดคำทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและส่งผลให้คะแนนNTของโรงเรียนต่ำอีกด้วย
คำถามการวิจัย
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนของการสะกดคำเป็นอย่างไร
๒.ใช้แบบฝึกการอ่านการเขียนที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์การวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที
๒. เพื่อพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียนในวิชาภาษาไทย
ตัวแปรที่ศึกษา
๑. แบบฝึกการอ่านการเขียนกลุ่มสาระภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๒. ทักษะการอ่านการเขียน
วิธีดำเนินการ
โดยการร่างแบบฝึกแล้วนำไปให้คุณครูพิจารณานำข้อเสนอแนะมาแก้ไขปรับปรุงนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓โดยใช้แบบฝึกการอ่านและการเขียน ๕ ชุด
๑. แบบฝึกที่ ๑ คำสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กง
๒. แบบฝึกที่ ๒ คำสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ
๓. แบบฝึกที่ ๓ คำสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กม
๔. แบบฝึกที่ ๔ คำสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก
๕. แบบฝึกที่ ๕ คำสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด
เป็นคะแนนของนักเรียนแต่ละคนในและสรุปการอ่านการเขียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๓ที่ยังเขียนสะกดคำไม่ถูกและอ่านไม่คล่องและไม่ออกจำนวน๑๐ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๑. แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน ๒๐ ข้อ
๒. แบบฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาไทย 10 แบบฝึก
การหาคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน ตั้งแต่ วันที่ ๑๖-๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียน ๒ ท่าน ที่มีวิชาเอกภาษาไทย คือ คุณครูพรชนก เอี้ยงก้อน ช่วยพิจารณาและตรวจสอบ และคุณครูระเบียบ สุวรรณมาโจ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ช่วยพิจารณา จากนั้นได้นำมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียน จำนวน ๑๐ แบบฝึกแต่ละชุดใช้เวลาฝึก ๕ วันเป็นเวลาทั้งสิ้น ๑ ภาคเรียน จากนั้นทำการทดสอบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำไปวิเคราะห์และแปรผลต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัย ได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
แทน ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (Mean)
S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standards deviation)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำเสนอในรูปตารางการทดลองแบบ One Goup Pre-test Post-test Desigm คะแนนเ,ยและร้อยละ ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตารางเฉลี่ยและค่าร้อยละของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ตารางคะแนนแบบฝึกทักษะการอ่านเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตารางแบบบันทึกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
ตอนที่๑ การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนกลุ่มสาระภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตามเกณฑ์๘๐/๘๐ ดังตาราง ๑
ตาราง๑ คะแนนเฉลี่ยและร้อยละเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านการเขียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
แบบฝึก คะแนนเต็ม
ร้อยละ
แบบฝึกทักษะที่ ๑ ๑๐ ๙.๓ ๙๓
แบบฝึกทักษะที่ ๒ ๑๐ ๘.๘ ๘๘
แบบฝึกทักษะที่ ๓ ๑๐ ๙.๑ ๙๑
แบบฝึกทักษะที่ ๔ ๑๐ ๘.๗ ๘๙
แบบฝึกทักษะที่ ๕ ๑๐ ๘.๖ ๘๖
แบบฝึกทักษะที่ ๖ ๑๐ ๘.๕ ๘๕
แบบฝึกทักษะที่ ๗ ๑๐ ๗.๗ ๗๗
แบบฝึกทักษะที่ ๘ ๑๐ ๘.๘ ๘๘
แบบฝึกทักษะที่ ๙ ๑๐ ๙.๐ ๙๐
แบบฝึกทักษะที่ ๑๐ ๑๐ ๘.๔ ๘๔
รวม ๑๐๐ ๘.๖๙ ๘๗.๑๐
ตาราง๑ แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ แบบฝึก มีคะแนนเฉลี่ย ๘.๖๙ คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๑๐ ดังนั้นแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
ตอนที่๒ วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนผลการวิเคราะห์ดังนี้
ตาราง๒ แสดงคะแนนเฉลี่ยและค่าร้อยละของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
คะแนน นักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ
ก่อนเรียน ๑๐ ๒๐ ๗๘ ๗.๘ ๗๘
หลังเรียน ๑๐ ๒๐ ๑๘๑ ๑๘.๑ ๙๐.๕
จากตาราง๒ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านและเขียนจาการทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ๗.๘ คิดเป็นร้อยละ ๗๘ ทดสอบหลังเรียนเท่ากับ ๑๘.๑ คิดเป็นร้อยละ๙๐.๕ แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าและยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเขียนสูงขึ้น คะแนน ระดับชาติสูงขึ้น
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนาทักษะแบบฝึกการอ่านเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ คน พบว่าหลังจากใช้แบบฝึกการอ่านเขียนในวิชาภาษาไทยดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนระดับชาติสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๑๐ ผู้วิจัยนำมาอภิปรายดังนี้
แบบฝึกการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ คน มีประสิทธิภาพ
๘๗.๑๐/๙๐.๕๐ คือได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึก คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๐ และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและเขียนคิดเป็นร้อยละ ๙๐.๕๐ แสดงว่า การจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ เนื่องจาก การใช้แบบฝึกได้ตรวจ แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่องและประเมินถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญผ่านการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริงตามแนวการสร้างแบบฝึกและสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุวิทย์ มูลคำและสุนันทา สุนทรประเสริฐ(๒๕๕๐:๖๐-๖๑)และพนมวัน วรดลย์(๒๕๔๒:บทคัดย่อ) กล่าวว่าได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๒ พบว่าแบบฝึกทักษะมีประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน๘๗.๗๔-๘๒.๑๑ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๑ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์๘๐/๘๐ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น การใช้แบบฝึกทำให้นักเรียนมีความสนุกสนานมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนมีความสนใจ ช่วยทำให้การเรียนการอ่านสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
การเลือกเนื้อหาควรคำนึงถึงความเหมาะสมของวัย เพศ และระดับความสามารถของนักเรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมคุณครูควรสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการเรียนและการเรียนและควรเสริมแรงให้รางวัลเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
๑. ควรมีการนำแบบฝึกไปใช้กับโรงเรียนอื่นหรือโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเครือข่าย
๒. ควรสร้างแบบฝึกภาษาไทยในหน่วยการเรียนรู้อื่น
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ.คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.๒๕๔๔.
คมขำ แสนกล้า.การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,๒๕๔๗.
ฐานิยา อมรพลัง.การพัฒนาแผนการตัดการเรียนรู้หลักภาษาไทยเรื่องไตรยางค์ด้วยแบบฝึกเกมส์และเพลงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔.การค้นคว้าอิสระ กศม.มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,๒๕๔๘.