เรื่อง แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้รายงาน นางพิระดา ตง
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขการศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 นักเรียนจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน ๔ เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 16 แผน เวลาเรียน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผลการศึกษาพบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.75/84.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด E1 /E2 เท่ากับ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนการใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา อยู่ในระดับมากที่สุด