บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3. ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 4. ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 24 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็ปเพจการเรียนรู้แบบผสมผสาน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล เทศบาลนครอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88
2. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ
หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดผลและประเมินผล
3. การทดลองใช้รูปแบบปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61
4. ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรียกว่า PARUANG Model