หัวข้องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผู้วิจัย นายประหยัด แก้วพิลึก
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา จำนวน 24 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 29 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์พี่เลี้ยงที่ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า กฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผล เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 8(3) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562) มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แนวคิดปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม แนวคิดปรัชญา Constructivism ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้น พบว่า ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนคือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานยังต่ำ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูร้อยละ 80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างจริงจัง จากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและพัฒนาได้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Context Analysis : C การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ขั้นที่ 2 Experience : E การวัดระดับประสบการณ์ ขั้นที่ 3 New : N การเพิ่มประสบการณ์ใหม่ ขั้นที่ 4 Conduct : C การปฏิบัติ โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) และระบบพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา (Mentoring) ขั้นที่ 5 Evaluation : E การประเมินผล และขั้นที่ 6 Reflection : R การสะท้อนกลับ
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า
3.1 การประเมินผลการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅ = 4.67)
3.2 การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ( x ̅ =17.83, S.D. = 0.98 ) สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ( x ̅ = 14.29 , S.D. = 1.11)
3.3 การประเมินแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลังการฝึกอบรมพัฒนา
บุคลากรครูเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับ สูง ( x ̅ = 4.23, S.D. = 0.18) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2
3.4 การสังเกตการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลังการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรครู
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับ สูงมาก (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.48) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
4. การประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า
4.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.71, S.D. = 0.08 ) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ปีการศึกษาที่วิจัยกับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละผู้เรียนที่มีผลการทดสอบ ระดับดี ของปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คะแนนถ่วงน้ำหนักรวมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เท่ากับ 8.20 อยู่ในระดับคุณภาพ พอใช้ ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 4 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 4 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่ม ศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ในปีการศึกษา 2562 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย ( x ̅ = 2.66, S.D.= 0.94) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ในปีการศึกษา 2561 ( x ̅ = 2.55, S.D. = 1.01)
4.3 ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกัน โดยผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์พี่เลี้ยง ผู้บริหารและผู้รับการอบรม สรุปว่า รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (CENCER Model) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางานและองค์ความรู้ โดยครูต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยความเต็มใจร่วมมือกันมีความรับผิดชอบในการทำงานและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรครูให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจให้กับครู เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ