ชื่อรายงาน รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model
ชื่อผู้ทำรายงาน นางสาวสายรุ่ง พุทธา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model 2) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรกลุ่มที่ 1 คือ ครูผู้สอนในปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ ( Process) ประชากรกลุ่มที่ 2 คือ ครูผู้สอนในปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 342 คน รวมทั้งสิ้น 364 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านผลผลิต (Output) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินปัจจัยเบื้องต้นของการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ 2) แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ 3) แบบประเมินด้านผลผลิต โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการรายงานพบว่า
1. ด้านปัจจัยนำเข้า ความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าบุคลากรมีความสนใจ กระตือรือร้น ในการดำเนินการตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีแหล่งเรียนรู้ที่ให้ศึกษาหาความรู้สำหรับ การเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่าเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครู
ความคิดเห็นของครูในการประเมินผลด้านกระบวนการการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม ปีการศึกษา 2562 ด้านกระบวนการดำเนินงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีแผนการติดตามกำกับประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ.มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลจากประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model
ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองต่อการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือนักเรียนมีการแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อนด้วยความเต็มใจ
ข้อคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธารามแบ่งเป็นรายด้านดังนี้
ด้านปัจจัยนำเข้า มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ ควรเพิ่มงบประมาณในการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์และควรมีจัดอบรมให้ครูและบุคลากรทุกคนก่อนดำเนินการรวมทั้งมีการทดสอบความรู้ความเข้าใจของบุคลากรด้วย เอกสาร หนังสือ คู่มือเกี่ยวกับการส่งเสริมจิตสาธารณะยังมีน้อย ชุมชนและผู้ปกครองยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ และควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการดำเนินการจัดซื้อสื่อ เอกสาร หนังสือ หรือคู่มือเกี่ยวกับการส่งเสริมจิตสาธารณะให้เพียงพอ ควรมีการประสานกับ ผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชี้แจงนโยบายและเป้าหมายการดำเนินโครงการให้ชัดเจน สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมหรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านจิตสาธารณธ และสนับสนุนให้พระวิทยากรประจำโรงเรียนเข้ารับการอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมมีความคลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด การจัดกิจกรรมไม่ค่อยเป็นไปตามแผน ปฏิบัติการที่วางไว้ และขาดความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งมีข้อเสนอแนะคือ มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนมีการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ และพยายามให้ทุกคนเข้ามา มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ตามลำดับ
ด้านผลผลิต มีอุปสรรคคือการประเมินผลว่านักเรียนมีพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะบางข้อต้องอาศัยข้อมูลจากผู้ปกครองเมื่อเด็กอยู่ที่บ้านซึ่งผู้ปกครองบางไม่มีเวลาอยู่กับนักเรียนหลังเลิกเรียนเพราะผู้ปกครองบางคนต้องทำงานเข้ากะช่วงกลางคืน และครูทุกคนควรปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องจิตสาธารณะให้หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนและประชุมผู้ปกครองอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อการแก้ปัญหาร่วมกันและประสานความเข้าใจระหว่างบ้านและโรงเรียน