ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุภาลักษณ์ อุตตะมะ
ประจำปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสารวิทยา
ผู้วิจัยต้องการสร้างกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทั้งในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน และวัดผลของการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
พัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารวิทยา
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตของเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารวิทยา
2. ประชากร
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 4/12 โรงเรียนสารวิทยาจำนวน 82 คน
3. ระยะเวลา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
วิธีการดำเนินการ
การดำเนินงาน
1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
2. เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจข้อมูล
2.1 แบบฝึกหัด วิชา เคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
2.2 แบบทดสอบทางการเรียน วิชา เคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
3. การสำรวจข้อมูล
2.1 นักเรียนทำแบบฝึกหัด วิชา เคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
2.2 แบบทดสอบทางการเรียน วิชา เคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
หลังสิ้นสุดกระบวนการสอน โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
แปลผลข้อมูลโดย ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การคำนวณร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4/11 ก่อนเรียน 40 20 5.45 2.02
หลังเรียน 40 20 10.25 3.41
4/12 ก่อนเรียน 42 20 6.50 1.83
หลังเรียน 42 20 13.64 2.92
จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 5.45 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.02 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 10.25 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.41 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 6.50 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.83 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 13.64 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.92 แสดงว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 4.80 คะแนน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 7.14 คะแนน
สรุปผลการวิจัย
เมื่อใช้จัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง สนใจในการเรียนมากขึ้น กล้าแสดงออกและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้นยังช่วยให้ผลการเรียนมีการพัฒนาทางด้านทักษะการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ในด้านการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้พบว่านักเรียนทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารวิทยา นักเรียนจำนวน 79 คน มีคะแนนสอบเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 96.35 ของนักเรียนทั้งหมด มีนักเรียนจำนวน 3 คน มีคะแนนลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.65 ของนักเรียนทั้งหมด นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 5.45 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.02 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 10.25 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.41 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 6.50 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.83 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 13.64 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.92 แสดงว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 4.80 คะแนน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 7.14 คะแนน ดังนั้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เหมาะสมสำหรับกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐาน จะประสบผลสำเร็จได้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับนักเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมที่นักเรียนสามารถศึกษาและค้นคว้าเพื่อตอบข้อสงสัยได้อย่างหลากหลาย
2. ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรนำกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสืบสอบเป็นฐาน ไปทำการวิจัยเพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดใน เรื่องอื่นที่เหมาะสมต่อไป เช่น กฎอัตรา ปฏิกิริยาเคมี ไฟฟ้าเคมี เป็นต้น