ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์
โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางพีรดา บุญเรือง
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน ด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินการพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก ได้ห้อง ป.1/3 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้ รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ (Questioning : Q) 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection : C) 3) การจัดการข้อมูล (Management : M) 4) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis : A) และ 5) การสรุปข้อมูลเพื่อหาคำตอบ (Summary : S) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องการให้พัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกหัด บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 72.22/70.00 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 78.67/76.50และค่าประสิทธิภาพ E1/E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 80.78/80.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 48 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.96/86.25 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ภูมิศาสตร์ของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก