ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวภัทรวดี พิมพกัน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองวารินชำราบ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหา และความต้องการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชายและหญิง อายุ 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 26 คน ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวน ร้อยละ) วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) กระบวนการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน MPAPE Model มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นนําเสนอ และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ และ 4) การประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.96, S.D.=0.68)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์เรียนสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 2.70, S.D. = 0.46)