เรื่อง : การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว
สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์
ชื่อผู้ศึกษา : นางอรพิมพ์ ธงไชย
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ (2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ (2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาวของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ (2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทยที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาว แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) เนื้อหาสาระ (3) กระบวนการเรียนการสอน (4) การประเมินผล
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับดี
2.2 พัฒนาการทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาวของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ พบว่า ทักษะด้านความคล่องแคล่ว การควบคุมเสียง จังหวะแม่นยำ และการมีไหวพริบ โดยรวมมีพัฒนาการสูงขึ้น
2.3 นักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทยพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหลักสูตร
ท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ ด้านหลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก