บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน แล้วนำมาสังเคราะห์ความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะกับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 3.1 เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม 3.2 เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้แก่ ครูที่สอนในรายวิชาศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 36 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 158 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะที่ 3 และ 4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนทางการเรียนภายในกลุ่ม โดยใช้ t - test (Dependent Samples)
ผลการรายงาน พบว่า
1. สภาพปัญหาการเรียนการสอนของครูและสภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
1.1. สภาพปัญหาการเรียนการสอนของครูการปฏิบัติของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของครูผู้สอนโดยภาพรวมแล้วมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีประเด็นที่ยังมีระดับการปฏิบัติอยู่ระดับปานกลาง
1.2. สภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นการกำหนดองค์ประกอบ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล รวมทั้งการนำไปใช้ในขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จากจิตคิดด้วยใจ (Mind Set) ขั้นที่ 2 ขั้นแพลนนิ่งแพลนเนอร์ (Plan) เป็นขั้นตอนของการสำรวจชุมชน สำรวจตนเอง ขั้นที่ 3 ขั้นเส้นสายลายแบบ (Design) ขั้นที่ 4 ขั้นศิลป์สร้างสรรค์ (Creative) ขั้นที่ 5 ขั้นพูดคุยภาษาศิลป์ (Presentation) และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันด้วยการทำกิจกรรมต่างจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ซึ่งนำไปสู่การคิดขั้นสูงได้
2.1 ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านมีความคิดเห็นในภาพรวมทั้งหมดพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมด้วยการประเมินระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อมูลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
2.3 ผลการทดสอบร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นไปหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 นำไปปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.48/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ 3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนผลที่ได้นี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของศราวุฒิ ขันคำหมื่น (2553 : 109-110) ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์เรื่อง สภาพสมดุลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเปรียบเทียบความคงทนการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เรื่องสภาพสมดุลระหว่างการเรียนรู้เชิงรุกกับการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกแบบจับคู่ร่วมคิดและห้องปฏิบัติการแห่งการค้นพบด้วยวงจรการเรียนรู้แบบ PODS เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแบบวัดผลการเรียน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกนี้ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้นและพบว่า กลุ่มนักเรียนที่ได้เรียนรู้เชิงรุกมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่า นักเรียนที่เรียนแบบปกติแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้เชิงรุกช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนศิลป์โมเดล (2PMCD) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม มีประสิทธิภาพ และมีดัชนีประสิทธิผลเหมาะสม สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนและนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติตามให้บรรลุผลตามผลการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างในการพัฒนาในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป