ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวพิมพ์ประภา นิลโกสีย์
ปีการศึกษา 2561 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาและความต้องการ การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 3) เพื่อนำรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ไปสู่การปฏิบัติ และ 4) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕
(วัดหาดใหญ่)
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายรวม 608 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X- ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันมีการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ยังไม่มีกิจกรรมของโรงเรียนอย่างชัดเจน ปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดงบประมาณสนับสนุน บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดผู้รับผิดชอบกิจกรรมโดยตรง ขาดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและไม่ได้ เกิดจากความต้องการของนักเรียน ขาดการมีส่วนร่วม ส่วนความต้องการจัดกิจกรรม พบว่า ต้องการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาสมอง พัฒนาจิตใจ พัฒนาทักษะการปฏิบัติ/ทักษะชีวิต พัฒนาส่งเสริมสุขภาพและเสริมสร้างความสามัคคี
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ด้าน (5H) และมีกิจกรรมย่อยใน 5 ด้าน จำนวน 13 กิจกรรม
3. ผลการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ไปสู่การปฏิบัติ พบว่า นักเรียนผ่านการประเมินกิจกรรมทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมในทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่พัฒนาขึ้น นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และอันดับสุดท้ายคือ กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทยมากขึ้น