บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษา
ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย : นางวธัญญา เตชะศรี
โรงเรียน : โรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย : 2562
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัจจุบัน และความต้องการการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสอบถามครูผู้สอน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน (ไม่นับรวมครูผู้สอนและผู้บริหารที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน) และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 181 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเมินประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยการสอบถาม ครูผู้สอน จำนวน 15 คน ตรวจสอบร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป (3.00) ระหว่างปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบถามความพึงพอใจจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน (ไม่นับรวมครูผู้สอนและผู้บริหารที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน) ครูผู้สอน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 คน ที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา แบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการของการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ด้านหลักการของรูปแบบ ด้านระบบงานและกลไกของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ พบว่า มีด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ด้านหลักการของรูปแบบ ด้านระบบงานและกลไกของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก และร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป (3.00) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด