บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการนิเทศ DKCER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย นางประทุมมา คำละมูล
ชื่อหน่วยงาน สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2563
การพัฒนารูปแบบการนิเทศ DKCER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ DKCER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ DKCER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ DKCER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 53 คน จำแนกเป็นผู้ทำหน้าที่สอน จำนวน 44 คน และผู้ทำหน้าที่นิเทศ จำนวน 9 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา เครื่องมือทดลอง คือ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ 2) แบบประเมินความสามารถในการนิเทศ 3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละเฉลี่ย และการทดสอบที (t-test) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการนิเทศ มี 5 ขั้น คือ 1) การกำหนดประเด็นการพัฒนา (Deciding Focus: D) 2) การให้ความรู้และทักษะการปฏิบัติ (Knowledge and Skills for
Coaching: K) 3) การปฏิบัติการนิเทศ (Coaching: C) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอนคือ 3.1) ร่วมกันพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 3.2) จัดการเรียนรู้และการสังเกตการสอน 3.3) การสะท้อนผล 3.4) การปรับปรุงแก้ไข 4) การประเมินผล และ (Evaluation: E) 5) การรายงานผล (Report: R)